วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทิศทางการจัดการศึกษา ปี 2555

       เพื่อ ให้เกิดภาวะรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทิศทางการจัดการศึกษา ปี 2555 ซึ่งล่าสุดได้มีการประชุม องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ กรอบแนวคิด เป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ กลไลการขับเคลื่อน ซึ่งมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้


วิสัยทัศน์
        ภาย ใน ปี 2555 กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นองค์กรหลักที่ทรงประสิทธิภาพในการผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคลากรของชาติ เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดี สร้างความมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมให้กับประเทศ ด้วยฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และศักยภาพของประเทศ

พันธกิจ
      พัฒนา ยกระดับ และจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่งคั่งและ มั่นคง เพื่อเป็นบุคลากรที่มีวินัย เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม

กรอบแนวคิด
1. คำนึงถึงศักยภาพและบริบทรอบๆ ตัวผู้เรียน
2. พัฒนาและยกระดับองค์ความรู้และกระบวนการเรียนการสอนให้ทัดเทียมอารยะประเทศ ด้วยการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสมัยใหม่
3. มุ่งสู่เป้าหมายของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับศักยภาพในการทำงานให้กับบุคลากรคนไทย ให้แข่งขันได้ในระดับสากล

เป้าหมาย
2 กรอบระยะเวลาของแผน หมายถึง ช่วงเวลาในการดำเนินงานตามแผน ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่
       2 ปี แรก หมายถึง พ.ศ. 2555-2556 (2012-2013) และ
       2 ปี หลัง หมายถึง พ.ศ. 2557-2558 (2014-2015) (AEC 2015)

5 ภูมิภาคหลักของโลก หมายถึง ทวียุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอฟริกา เพื่อให้ คนไทย “รู้ศักยภาพเขา”

5 ศักยภาพหลักของพื้นที่ หมายถึง ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของพื้นที่ตามหลักภูมิอากาศ ศักยภาพของภูมิประเทศ และทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่เพื่อให้คนไทย “รู้ศักยภาพเรา”

5 กลุ่มอาชีพใหม่ หมายถึง กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้าน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชย กรรม ความคิดสร้างสรรค์ และด้านอำนวยการ บริหารจัดการและการบริการ เพื่อให้คนไทยสามารถปรับตัว “เท่าทัน และแข่งขันได้”

ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน/ประชาคมโลก
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสถานศึกษาและองค์ความรู้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาครูทั้งระบบ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 8 การส่งเสริมการมีงานทำ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 9 การบริหารจัดการกลยุทธ์ของกระทรวงศึกษาธิการ

โครงการสำคัญ (Flagship)
1. โครงการกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู
2. โครงการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)
3. โครงการกองทุนตั้งตัวได้
4. โครงการครูคลังสมอง
5. โครงการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ
6. โครงการวิจัยศักยภาพพื้นที่
7. โครงการปฏิรูปเงินเดือนและค่าตอบแทน
8. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
9. โครงการพัฒนาผู้นำตามธรรมชาติ
10.โครงการเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
11.โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
12.โครงการเทียบระดับการศึกษา
13.โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต
14.โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน
15.โครงการถ่ายทอดผลงานวิจัย
16.โครงการมัธยมศึกษาเชิงปฏิบัติการ
17.โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมโลก
18.โครงการพัฒนาระบบบริหารวิสาหกิจเพื่อการศึกษา
19.โครงการพัฒนาการศึกษาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
20.โครงการโครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

กลไลการขับเคลื่อน
- การเผยแพร่ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
- การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจใน 5 ภูมิภาค โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ต.ค. – พ.ย. 54)
- การจัดทำสื่อเผยแพร่ทุกรูปแบบ (ต.ค. 54 – ก.ย. 55)
- การพัฒนาบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับทั้งในและต่างประเทศ
- การติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคณะกรรมการติดตามและประเมินผล ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นเลขานุการ


ที่มา จดหมายเปิดผนึก ผอ.สำนักนโยบายและแผน สพฐ. 10/2554