วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School)


............สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ขับเคลื่อนการพัฒนายกระดับโรงเรียนชั้นนำที่มีความพร้อมสู่โรงเรียนดีมีมาตรฐานสากล โดยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(นายชินภัทร ภูมิรัตน) ได้มอบนโยบายแก่โรงเรียนในโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพร้อมกันทั่วประเทศ ผ่านการประชุมทางไกล (Tele Conference) พร้อมกับสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย และคณะทำงานได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล เพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางและแนวทางการดำเนินงานเบื้องต้นให้รับทราบแล้วนั้น และเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำเอกสาร “คู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล” ขึ้นจำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย การขับเคลื่อนกลยุทธ์ การพัฒนาหลักสูตรและการสอน การบริหารจัดการ ระบบคุณภาพ การสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนและการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา

สภาพปัจจุบันปัญหา
............ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในประเทศไทยมีการพัฒนาหลักสูตรและการสอนให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียนในหลายรูปแบบ โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายสำคัญเพื่อตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันและทัดเทียมนานาประเทศ ซึ่งมีหลักสูตรและการสอนที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ได้แก่
..........1. หลักสูตรและการสอนทั่วไป เป็นหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการศึกษาให้แก่ประชากรวัยเรียนทุกคนเป็นภาษาไทย
..........2. หลักสูตรและการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ที่เรียกชื่อว่า English Program เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และประวัติศาสตร์ไทย
..........3. หลักสูตรและการสอนกึ่งภาษาอังกฤษ ที่เรียกชื่อว่า IEP (Intensive English Program) หรือ ในความหมายของ IEP International Program สำหรับโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรของ IBO (International Baccalaureate Organization) MEP (Mini English Program) เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษามีรูปแบบที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในหลายโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนในทุกสาระการเรียนรู้เป็นภาษาไทย เน้นเพิ่มเติมจำนวนคาบเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น ในขณะที่โรงเรียนอื่น ๆ มีการจัดการเรียนการสอนในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ และเพิ่มภาษาอังกฤษในคาบเรียนของสาระเพิ่มเติม เป็นต้น หรือ EIL (English-Intergrated Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอน โดยบูรณาการภาษาอังกฤษ
..........4. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและหลักสูตรวิชาชีพ เป็นการบูรณาการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2546) ซึ่งเมื่อผู้เรียนจบหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาที่ต้องการและสามารถศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

.............ต่อมาปี พ.ศ. 2553 กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการโครงการโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลเพื่อยกระดับโรงเรียนให้มีการจัดการเรียนการสอนและการบริหารระบบคุณภาพ (Quality System) มุ่งให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Learner Profile) เทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard) ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World citizen)

“เป็นเลิศวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก”





รูปแบบหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล
...........จากการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษานานาชาติที่มุ่งเน้นความเป็นสากล สามารถสรุปผลและจำแนกประเภทของรูปแบบที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล             เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

การจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล
..........หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากลพัฒนาโดยยึดรูปแบบโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นสำคัญ กล่าวคือ หลักสูตรสถานศึกษามีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ สาระพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สาระเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งแสดงเป็นแผนภูมิการเปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้



การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล
.............การจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน 8 กลุ่มสาระ สถานศึกษา เป็นการจัดการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยสามารถพิจารณาจัดการเรียนการสอนในทุกสาระการเรียนรู้เป็นภาษาไทยหรือในบางสาระการเรียนรู้ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทรัพยากรของแต่ละสถานศึกษา อนึ่ง สถานศึกษาจะต้องให้ความสำคัญในการศึกษา/ทบทวนเนื้อหาในแต่ละกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ โดยเฉพาะกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมให้เนื้อหามีความทันสมัย ร่วมสมัยหรือเป็นเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันและอยู่ในความสนใจของสังคม เป็นต้น

การจัดการเรียนการสอนสาระเพิ่มเติมที่มีความเป็นสากล
          จากการศึกษาการพัฒนาหลักสูตรและการสอนของโรงเรียนมาตรฐานสากลของหลายประเทศพบว่าโรงเรียนต่าง ๆ ได้จัดสาระเพิ่มเติมจำนวน 6 สาระหลัก ได้แก่
.........1. ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge)
.........2. การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended-Essey)
.........3. กิจกรรมโครงงานสาธารณประโยชน์ที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์สู่การปฏิบัติของผู้เรียนที่เรียกชื่อว่า CAS (Creativity, Actions, Service)
.........4. โลกศึกษา (Global Education) เพื่อให้ผู้เรียนมีวิสัยทัศน์และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของความเป็นพลโลก (World Citizen)
.........5. ภาษาอังกฤษ
.........6. ภาษาต่างประเทศที่ 2

สาระการเรียนรู้

.........ทฤษฎีองค์ความรู้ (TOK : Theory of Knowledge) เป็นสาระการเรียนรู้สำคัญที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) ของผู้เรียนและเป็นสาระการเรียนรู้
........1.ขอบข่ายเนื้อหาการเรียนการสอน TOK (Theory of knowledge) เป็นสาระการเรียนรู้ที่ว่าด้วยเรื่องประเด็นความรู้ต่าง ๆ (Knowledge Issues) องค์ความรู้ (Body of Knowledge) และทฤษฎีความรู้ (Theory of knowledge) ของสาระการเรียนรู้พื้นฐานทั้งหมด (Interdisciplinary) ในเชิงบูรณการ ในเชิงปฏิบัติ ครูและผู้เรียน จะต้องร่วมกันกำหนดเนื้อหา โดยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น การระดมสมอง การใช้แบบสอบถาม เกี่ยวกับประเด็นร้อนของสังคม เหตุการณ์ปัจจุบัน สภาพปัจจุบันและปัญหาที่ผู้เรียนหรือสังคมกำลังเผชิญ หรือหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ เป็นต้น จากนั้นครูและผู้เรียนรวบรวมรายชื่อหัวข้อเรื่อง (Topic) อย่างเป็นระบบ โดยจัดเป็นเอกสารลักษณะรูปเล่ม (Directory).ที่มีเป้าหมาย (Goal) เพื่อช่วยผู้เรียนให้สามารถเข้าใจสถานการณ์/บริบทในสังคม และใช้ความรู้ที่ตนได้เรียนรู้มาศึกษาวิเคราะห์สภาพการณ์/สถานการณ์/บริบท สามารถจำแนกระหว่างการให้เหตุผลดี เหมาะสม และเหตุผลที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม (Good and poor reasoning) สามารถวิเคราะห์และให้เหตุผล ความอคติ/ความลำเอียง/เกี่ยวกับอุบัติการณ์ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (to spot international or accidental bias) และสามารถระบุความไม่สมเหตุสมผล (inconsistencies) ของสถานการณ์/สภาพการณ์ต่าง ๆ
........2.วิธีการจัดการเรียนการสอน ครูใช้รูปแบบการสอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สนทนาโต้ตอบ (Discuss) และอภิปรายซักถาม (Debate) โดยไม่มีการตัดสินถูก (Right) หรือ ผิด(Wrong) ในข้อคิดเห็น แต่ครูผู้สอนจะต้องมุ่งพัฒนาส่งเสริม/ฝึกฝนวิธีการให้ความคิดบนพื้นฐานของความรู้และทฤษฎีความรู้ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นให้ข้อมูลขัดแย้งหรือเห็นด้วยอย่างมีคุณภาพ (Quality of justification and a balance approach to the knowledge claim in question) ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนจะต้องจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถและมีทักษะในการนำเสนอแนวคิด/องค์ความรู้ โดยบอกประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นเกี่ยวกับหัวข้อ (Topic) ที่ตนเองเลือก ได้แก่
..........2.1. สามารถบอกช่องทางการรับรู้ความรู้ (ได้รับความรู้มาอย่างไร) เช่น รับรู้ความรู้โดยความรู้สึก (Sense Perception) หรือรู้โดยเหตุผล (Reason)รับรู้โดยอารมณ์ (Emotion) หรือรับรู้จากสื่อภาษา สัญลักษณ์/การให้สมญานาม (language/symbols/nomenclature) เป็นต้น
..........2.2. สามารถบอกสาขาของความรู้ที่ได้รับ (Area of Knowledge) เช่น เป็นความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และศิลปกรรม
..........2.3. สามารถบอกความหมายขององค์ประกอบต่าง ๆ ของความรู้ที่ได้รับในเรื่องต่อไปนี้
.................2.3.1 ธรรมชาติการรับรู้ (Nature of Knowing) เช่น การรับรู้จากประเภทของข้อมูล ได้แก่ สารนิเทศ (information) หรือข้อมูล (Data) หรือ ความเชื่อ (Belief) หรือความศรัทธา (Faith) หรือความคิดเห็น (Opinion) หรือความรู้ (Knowledge) หรือภูมิปัญญา (Wisdom)
.................2.3.2 ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Knowledge of Communities)
.................2.3.3 ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Knower s’ Senses) และ
.................2.3.4 ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ (Justification
.........3.การวัดประเมินผลการเรียน TOK : Theory of Knowledge การวัดประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเรียนการสอน TOK ผู้เรียนจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
............3.1. การเขียนความเรียงขั้นสูง (TOK Essay) นำเสนอแนวคิด ความคิดเห็นการให้เหตุผลเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ผู้เรียนได้รับเลือกจากหัวข้อเรื่องที่ครูกำหนดให้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับสถานการณ์และสภาพสังคมปัจจุบัน
............3.2. การพูดนำเสนอเนื้อเรื่องของความเรียง (TOK Presentation) ผู้เรียนจะต้องนำเสนอหัวข้อของความเรียงในข้อ 1 ในลักษณะของรูปแบบการนำเสนอตามประเด็นระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้น ตามเวลาที่กำหนดให้และในการนำเสนอผู้เรียนจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเสนอความคิดเห็นโดยการอ่านอย่างเด็ดขาด
............3.3. ในการให้คะแนนสำหรับผลงานเขียน (Extended-Essay) และการนำเสนอผลงาน (TOK Presentation) โดยครูผู้สอนพิจารณาความสำคัญของหัวข้อเรื่อง (Topic) ความน่าเชื่อถือของการกำหนดหัวข้อเรื่อง (Reliability) ทฤษฎีและความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) การเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา (Identification of suitable approach) การสรุปผล และการให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (Suggestions) เป็นต้น

.........การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended-Essay) เป็นสาระการเรียนรู้ ที่จัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนและเรียบเรียงความคิดข้อคิดเห็น การให้ข้อเสนอเชิงวิชาการ โดยใช้ภาษาอย่างถูกต้อง
.........1. ขอบข่ายเนื้อหา เนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ใช้สำหรับการเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended-Essay) ได้แก่ วิธีการเขียนชื่อเรื่อง (Title) และการกำหนดประเด็นปัญหา (Research Question) การเขียนคำนำ (Introduction) ผู้เรียนสามารถเขียนสื่อความให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นมาของชื่อเรื่อง ความน่าสนใจของเรื่องที่เขียน คุณค่าของการศึกษาเรื่องนี้ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่ศึกษาบริบทของเรื่องที่เกี่ยวข้องการกำหนดประเด็นปัญหาเรื่องที่ศึกษา และการใช้ภาษาที่สื่อความหมายที่ชัดเจน การเขียนเนื้อเรื่อง (Body of Knowledge) ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องรูปแบบโดย
สร้างและกระบวนวิธีการนำเสนอข้อมูลความคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เป็นที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Investigation) และการเขียนบทสรุป (Conclusion)
.........2. เนื้อหาเกี่ยวกับการเรียบเรียงบทความ การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) การเขียนกิตติกรรมประกาศ (Actknowledgement) การเขียนสารบัญ (Contents Pages) การนำเสนอประกอบ การอธิบายด้วย แผนที่ แผนภาพ แผนภูมิ ภาพประกอบ และตาราง (Maps, Charts, Diagrams, Illustrations, Tables) การเขียนเอกสารอ้างอิง (References) บรรณานุกรม (Bibliography) และภาคผนวก (Appendices) รวมทั้งวิธีการนำเสนอการอ้างอิงถ้อยคำหรือความคิดเห็น (Quotation &Citation) เป็นต้น
.........3.การวัดและประเมินผล (Assessment) การวัดและประเมินผลการเขียนความเรียง (Extended-Essay) ใช้เครื่องมือเดียวกับการประเมินผลสาระของ TOK (Theory of Knowledge) 

.........การจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้ CAS (Creativity, Actions, Service) เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการสร้างสรรค์โครงงานและปฏิบัติจริง 3 กิจกรรมหลัก ๆ ที่ประกอบไปด้วย การสร้างสรรค์โครงงาน
(Creativity) โดยใช้ความรู้จากสาระการเรียนรู้พื้นฐาน นำกิจกรรมในโครงงานสู่การปฏิบัติจริงตามโครงงานที่สร้างขึ้น (Actions) และจัดหรือเข้าร่วมกิจกรรรมบริการสังคม (Service) เช่น การเยี่ยมบ้านคนชรา โรงพยาบาล ค่ายผู้อพยพ อาสาสมัคร เป็นต้น

.........การจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้โลกศึกษา Global Education เป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โลก เรียนรู้เกี่ยวกับความคิด (Concept) และเนื้อหาของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับโลกเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์และปรัชญา เช่น สิทธิมนุษยชน, ประชาธิปไตย, เศรษฐศาสตร์, ความยุติธรรม, ความเสมอภาค, สันติภาพ, การบริหารความ
ขัดแย้ง, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, ความเหมือนและความแตกต่างในด้านชีวิตความเป็นอยู่, วัฒนธรรม, ศาสนา, การพัฒนาอย่างยั่งยืน ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ทำความรู้จักกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุกวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.ฉบับนี้ และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์
...หมายเหตุ... ข้อมูลถามตอบนี้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดและเนื้อหาบางส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ การนำไปใช้และอ้างอิงใดๆจึงควรพิจารณาประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดอีกครั้ง

1. ถาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ตอบ พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป

2. ถาม ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตอบ นั่นก็เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง

3. ถาม: แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
ตอบ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคลเหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้

4. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง
ตอบ สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

5. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลอะไรบ้าง และจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นนานแค่ไหน
ตอบ: ในกรณีนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้
“ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
6. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการแต่ไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้เลย ถือว่าทำผิดพ.ร.บ.หรือไม่
ตอบ: ถือว่าทำผิดและอาจถูกปรับสูงถึง 500,000 บาท

7. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.นี้ จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการเมื่อใด
ตอบ: ขอแบ่งเป็น 2 กรณี กล่าวคือ กรณีแรกหากคุณเป็นผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตหรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นจะต้องเริ่มเก็บข้อมูลดังกล่าว ภายใน90 วันนับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ อีกกรณีหนึ่งคือในกรณีที่คุณเป็นผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์และข้อมูลผู้ใช้บริการภายใน 150 วัน นับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ

8. ถาม: ในส่วนของพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการอย่างไร
ตอบ: หากเกิดกรณีที่เชื่อว่ามีการกระทำผิดตามพ.ร.บ. เจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตศาล
มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องขออนุญาตศาล (พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน)
ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

9. ถาม: หากได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่แล้ว เจ้าหน้าที่จะมีขั้นตอนในการสืบสวนอย่างไร
ตอบ: หากคุณได้เข้าแจ้งความแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
เมื่อได้รับการร้องทุกข์หรือตรวจพบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จะติดต่อกับผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อขอหมายเลข IP Address และวันเวลาที่พบการกระทำความผิด
เมื่อทำการตรวจหมายเลข IP Address แล้วพบว่าเป็นของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) รายใด เจ้าหน้าที่จะทำหนังสือสอบถามข้อมูลจราจรและข้อมูลผู้ใช้บริการ
หลังจากนั้นจะมีการเชิญผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีรายชื่อปรากฏมาให้ปากคำ

10. ถาม: ถ้าหากคุณเป็นผู้เสียหายจะต้องทำอย่างไร
ตอบ: หากคุณกลายเป็นผู้เสียหาย แนะนำว่าให้คุณจดจำ URL (Uniform Resource Locater) ที่พบว่ามีการกระทำความผิด และให้คุณรวบรวมพยานหลักฐานที่สามารถหาได้ เช่น จัดพิมพ์รายละเอียดต่างๆ จดจำวันเวลาและสถานที่ที่พบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แล้วให้รีบไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น

11. ถาม: หากต้องการศึกษาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ไหน และมีหน่วยงานใดบ้างที่ดูแลรับผิดชอบ
ตอบ: สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ได้จากเว็บไซต์ของหลากหลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบ อาทิ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: www.mict.go.th
ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (High-Tech Crime Center) :http://htcc.police.go.th
กองบัญชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: http://ict.police.go.th
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ: www.royalthaipolice.go.th
กรมสอบสวนคดีพิเศษ: http://www.dsi.go.th/dsi/index.jsp
เว็บไซต์ NECTEC เพื่อประชาคมความรู้ (NECTEC PEDIA) http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php

อ้างอิง
http://www.etcommission.go.th/documents/laws/20070618_CC_Final.pdf
เอกสารคำอธิบายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4 ประกอบการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมที่ 772/2550

ความรู้เกี่ยวกับบล็อก


“บล็อก กับการจัดการความรู้”

การเขียนบล็อกไม่ว่าจะด้วยเรื่องอะไรก็ตาม ทั้งหมดทั้งสินก็ล้วนแต่เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในวงกว้างอย่างเป็นประโยชน์ การเขียนบล็อกจึงเปรียบเสมือนแหล่งกระจายความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ ดังนั้นประโยชน์ของบล็อกจึงมีอยู่มากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ การเขียนบล็อกสำหรับบันทึกเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่ผู้เล่าสนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือการเขียนต้องมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง จะช่วยอำนวยให้การดึงเอาความรู้ฝังลึกถูกแสดงออกมาได้โดยไม่ยากนักและการเขียนบล็อกอยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้ (Knowledge Assets) อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความรู้ก็ทำได้โดยสะดวก รวดเร็ว อีกทั้งบล็อกยังเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ โดยหลักการของ บล็อก คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน บล็อก เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง บล็อก ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน บล็อก ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันทีและยังเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ การเขียน บล็อก ที่อนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอดลงไปใน บล็อก และผู้เขียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี บล็อกยังเป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน บล็อก เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน บล็อก ที่มักอ้างถึง บล็อก อื่น ๆ โดยการโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เขียนบรรจุไว้ใน บล็อก ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ บล็อก ชุมชน และยังเป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ วิธีการหนึ่งที่ระบบ บล็อก โดยทั่วไปนำมาใช้ในการรวบรวมและแยกประเภทของของบันทึก คือการให้ผู้เขียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เขียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน บล็อกยังเป็นเครื่องมือสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้โดยผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ และบล็อกเป็นศูนย์ความรู้ขององค์การ เพราะให้พนักงานและบุคลากร แต่ละคนเขียน บล็อก ส่วนตัวไว้ หากพนักงานและบุคลากรท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่องค์กรให้รุ่นน้องศึกษาไปโดยการถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะ Tacit Knowledge เขียนออกมาเป็น "เรื่องเล่า"
ดังนั้นบล็อกจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากในการกระจายความรู้ การเขียน การอ่าน และการแสดงความคิดเห็นในบล็อกจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

เนื้อหาโดยสรุปเกี่ยวกับ “บล็อกและการจัดการความรู้”

คำว่า Blog เป็นคำย่อจากคำว่า Warbles หรือ Web Log ซึ่งเป็นคำที่คิดขึ้นโดย โจร์น บาร์เกอร์ ในปี ค.ศ.1997 และต่อจากนั้นอีก 2 ปีต่อมา ปีเตอร เมอร์โฮลซ์ ซึ่งสร้าง Blog ของตนเอง แล้วตั้งชื่อว่า we blog ทำให้คำว่า Warbles ถูกย่อให้เหลือแค่เพียง Blog และกลายเป็นคำฮิตติดปาก ตั้งแต่นั้นมาแต่การเปลี่ยนไอเดียจากกระดานข่าวสู่ Blog นั้น ยังไม่ถือว่าเป็นการประยุกต์ไอเดียเล็ก ๆ มาสร้างธุรกิจใหม่ได้เลยหากไม่มีบริษัทเล็ก ๆ ผู้ให้บริการจัดทำเว็บไซต์ และมี Blog เป็นของตนเองที่มองเห็นไอเดียเล็ก ๆ นี้จะเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจเหล่านั้นได้อย่างมหาศาล พวกเขาจึงก่อตั้งเว็บไซต์ Blogger.com ขึ้นมาและหวังว่านี่จะเป็นเว็บไซต์ที่ทำเงินได้ ซึ่งสุดท้าย ฝันก็เป็นจริง เมื่อวันหนึ่งเว็บ Blogger.com ของพวกเขาได้รับคำเสนอซื้อจากยักษ์ใหญ่แห่งวงการเสิร์จเอ็นจิ้นอย่าง Google.com ด้วยมูลค่าที่ใคร ๆ คาดไม่ถึงเนื้อหาใน Blog นั้นประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1.หัวข้อ( title ) 2. เนื้อหา ( Post หรือ Content ) 3.วันที่เขียน( Date )

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

สภาพ/โครงการด้านสารสนเทศของโรงเรียนลำปางกัลยาณี

1. ด้านโครงสร้าง
2. ด้านการวางแผนพัฒนา
2.1 พัฒนากลุ่มบริหารงาน สาระวิชา งาน ให้มีการดำเนินงานและกิจกรรม เป็นไปตามปฏิทินการปฏิบัติงาน
2.2 พัฒนาให้โรงเรียนมีระบบติดตาม ประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
2.3 พัฒนาให้โรงเรียนมีข้อมูลและระบบสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และสามารถใช้ประโยชน์ได้
2.4 จัดทำทะเบียนเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
2.5. จัดระบบฐานข้อมูลของสถานศึกษา เพื่อให้บริหารจัดการภายในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ ระบบฐานข้อมูลของเขตพื้นที่การศึกษา
2.6 พัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ ให้มีความรู้มีทักษะในการปฏิบัติภารกิจ
2.7 จัดระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ เชื่อมโยงกับสถานศึกษาอื่น เขตพื้นที่การศึกษา และส่วนกลาง
2.8 นำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการบริหาร บริการและการประชาสัมพันธ์


3. ด้านบุคคล
=>บุคลากรผู้รับผิดชอบงานพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ
1. นายสุขพัฒน์ โสรัจจกิจ หัวหน้างาน
2. นายชเลงศักดิ์ ฤกษ์วัลย์ รองหัวหน้างาน

3. นายสุวโรจน์ ศิวัฒน์นิธิกุล รองหัวหน้างาน
4. นายกู้เกียรติ ตั้งพระกิตติคุณ กรรมการ
5. นางเกษร ราชา กรรมการ
6. นางมยุรี ท้าวศรีชัย กรรมการ
7. นายภิรมย์ สิทธิจู กรรมการ
8. นายธีรวัฒน์ กันทะ กรรมการ
9. นายอมร ยะติน กรรมการ
10. นางสาวทัศนีย์ วงค์ประสิทธิ์ กรรมการ
11. นายอุดม เอี่ยมฤทธิ์ กรรมการ
12. นางสาวอภิญญา สังข์ครุฑ กรรมการ

=>หน้าที่และความรับผิดชอบ
1. ควบคุมระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
2. จัดทำทะเบียนเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
3. จัดระบบฐานข้อมูลของสถานศึกษา เพื่อให้บริหารจัดการภายในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับระบบฐานข้อมูลของเขตพื้นที่การศึกษา
4. พัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ ให้มีความรู้มีทักษะในการปฏิบัติภารกิจ
5. จัดระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ เชื่อมโยงกับสถานศึกษาอื่น เขตพื้นที่การศึกษา และส่วนกลาง
6. นำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการบริหาร บริการและการประชาสัมพันธ์
7. บำรุงรักษา ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. ควบคุมดูแลการให้บริการและการใช้งานห้องสืบค้น ICT

4. ด้านเครื่องมือ

4.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 7 ชุด
4.2 เครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ จำนวน 4 เครื่อง
4.3 เครื่องสแกนเนอร์ จำนวน 2 เครื่อง







5. ด้านซอฟต์แวร์
5.1 โปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร AIS
5.2 โปรแกรมจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล SMIS
5.3 โปรแกรมระบบงานทะเบียน-วัดผลและสารสนเทศนักเรียน STUDENT 2551
5.4 โปรแกรมระบบบริหารงาน ICT โรงเรียนลำปางกัลยาณี
5.5 โปรแกรมงานสำนักงาน Microsoft office
5.6 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS

6. ด้านการใช้งานสารสนเทศ
6.1 ตรวจสอบผลการเรียน
6.2 ตรวจสอบตารางสอนครู
6.3 ตรวจสอบตารางเรียนนักเรียน
6.4 ตรวจสอบตารางการใช้ห้อง
6.5 ตรวจสอบการมาเรียนของนักเรียน
6.6 ตรวจสอบความผิดของนักเรียน
6.7 ตรวจสอบการใช้งานอินเทอร์เน็ตของโรงเรียน


7. ด้านอื่น ๆ
7.1 จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
7.2 จัดทำรายงานการประเมินงาน/โครงการและการปฏิบัติงานประจำปี
7.3 รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประจำปี
7.4 รายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน
7.5 จัดทำคู่มือครู
7.6 จัดทำคู่มือการเขียนงาน/โครงการ ประจำปี


วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษา




การศึกษาเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอาศัยสื่อที่ทันสมัยโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและผู้คนหลายสิบล้านคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารในเวลาอันสั้น การศึกษาหาข้อมูลและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพียงแต่ปลายนิ้วสัมผัส โดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) เกิดเป็นชุมชนบนเครือข่ายขึ้น ผู้คนสามารถติดต่อสัมพันธ์กันผ่านจอคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น ข้อมูลข่าวสารความรู้จึงกลายเป็นกุญแจสำคัญไปสู่อำนาจและความมั่นคงของประเทศและเป็นกุญแจที่จะไปสู่ข้อมูลข่าวสารความรู้ ก็คือ "การศึกษา"
โลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็ยากจะจินตนาการได้ทั้งหมด แต่ก็พอจะคาดการณ์ได้ว่าในปี ค.ศ. 2000 ขึ้นไป จะมีงานใหม่ๆ เกิดขึ้นและเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน ดังนั้นการคิดระบบการศึกษาใหม่ ซึ่งเป็นการเตรียมนักศึกษาสำหรับงานในอนาคตเป็นภาระหน้าที่ของนักการศึกษา ร่วมถึงบริษัทห้างร้าน และสังคมต้องร่วมมือกันในการจัดการศึกษา (F.J.Eyschen. 1994)
การเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมจะ ลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไป เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในต้นศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่มีการพัฒนาการสื่อสารทางไกลที่เรียกว่าโทรคมนาคม พร้อมกันนั้นก็มีเทคโนโลยีการสื่อสารทางด้านการกระจายเสียง คือ มีเรื่องของวิทยุและโทรทัศน์เกิดขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่มนุษย์ได้มีเครื่องมือสื่อสารหลายรูปแบบ หลายลักษณะ แต่ว่าในด้านการศึกษาได้นำเอาเครื่องมือเหล่านี้มาใช้เพื่อการศึกษา มากน้อยเพียงใดขณะที่การใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ซึ่งเกิดขึ้น ในกลางศตวรรษที่ 15 ยังมีใช้กันอยู่มาก ประมาณได้ว่าประเทศไทยยังอยู่ในช่วงที่ 4 ขณะที่พัฒนาการด้านการสื่อสารได้ก้าวเข้าไปสู่ช่วงที่ 5 ก็คือช่วงที่ได้มีการเอาเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับคอมพิวเตอร์เข้ามาผสมผสานกันกับโทรทัศพท์ โทรศัพท์ก็สามารถที่จะสร้างเป็นเครือข่ายของข่าวสาร ที่สามารถจะมีภาพก็ได้ และสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ไม่ใช่เฉพาะระหว่างบุคคลต่อบุคคล แต่สามารถใช้สื่อสารระหว่างบุคคลกับมวลชนได้ จึงมีการนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่ในสังคมหรือกำลังจะมีในสังคมมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการทางการศึกษาในช่วงนั้นๆ และถ้าศึกษาถึงแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อยเห็นแนวโน้มได้ 3 ลักษณะคือ
=> แนวโน้มที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเป็นการสื่อสารมวลชนมากขึ้นทั้งๆ ที่สื่อหรือการสื่อสารบางอย่างเริ่มต้นในฐานะเป็นสื่อระหว่างบุคคลตัวอย่าง เช่น เรื่องโทรศัพท์ แต่ก่อนใช้เพื่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่ต้องการใช้โทรศัพท์โทรถึงกันแต่มาบัดนี้โทรศัพท์สามารถที่จะใช้เพื่อสื่อสารไปถึงคนจำนวนมากได้โดยใช้เทคโนโลยีอื่นๆ ประกอบ
=> แนวโน้มที่ 2 สภาพของสื่อที่ใช้เสียงในการสื่อสารขณะนี้เริ่มพัฒนาเป็นการสื่อสารด้วยภาพมากขึ้น และเป็นการผสมระหว่างภาพกับเสียงแม้ปัจจุบันที่มีวิทยุโทรทัศน์เป็นทั้งภาพและเสียง ส่วนโทรศัพท์ แต่ก่อนเป็นแต่เรื่องเสียง ตอนนี้โทรศัพท์ก็จะเป็นทั้งเสียงและภาพ ซึ่งสื่อทั้งหลายรวมทั้งคอมพิวเตอร์ก็เริ่มมาใช้งานในลักษณะที่นำเสนอเป็นภาพและเสียงมากขึ้น จากแนวโน้มในข้อนี้เห็นได้ว่าสื่อใดที่มีทั้งภาพและเสียงสื่อนั้นจะมีประสิทธิภาพในการสื่อสารสูง
=> แนวโน้มที่ 3 สื่อประเภทต่างๆ มีราคาถูกลงโดยมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น เดิมนั้นคอมพิวเตอร์ วิทยุโทรทัศน์หรือแม้แต่โทรศัพท์มีราคาแพง ปัจจุบันยิ่งพัฒนาไปมากเท่าไร ราคาก็ยิ่งถูกลงทำให้ มีการนำเอามาใช้มากยิ่งขึ้น

แนวคิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

ถ้าย้อนกลับมาดูพัฒนาการทางการศึกษาของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าอาศัยความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสาร เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางไกล ตัวอย่างที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ใช้ระบบนี้ในการจัดการศึกษาซึ่งพบว่า การจัดการศึกษาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านการสื่อสารทั้งสิ้น กล่าวคือ สมัยแรกที่กิจการไปรษณีย์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง การสอนทางไกลก็จะไปเกี่ยวกับการบริการทางไปรษณีย์คือการเอาสิ่งพิมพ์ในรูปของตำราส่งไปทางไปรษณีย์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนที่บ้าน ต่อมาเมื่อวิทยุเข้ามามีบทบาทในการ สื่อสาร มหาวิทยาลัยทางวิทยุก็เกิดขึ้น และใช้สื่อวิทยุซึ่งเป็นสื่อเสียงในการสอน และก็อาจมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย และเมื่อโทรทัศน์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารมวลชน ก็เกิดมีมหาวิทยาลัยที่สอนโดยใช้โทรทัศน์ร่วมกับเอกสาร สิ่งพิมพ์
มาถึงยุคปัจจุบันมีการพัฒนา การด้านการสื่อสารหลายๆ อย่าง โดยมีความคิดว่าจะไม่ขึ้นอยู่กับสื่อสารใด สื่อสารหนึ่งเท่านั้น เพราะจะทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่ ต้องใช้การสื่อสารหลายๆ รูปแบบที่เรียกว่า "การใช้สื่อสารแบบประสม"


บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น


เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ
เมื่อเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เพื่อการศึกษา และโดยเฉพาะการนำมาปรับใช้สำหรับคนพิการได้ผลดีอย่างมากมาย กล่าวคือคนพิการสามารถพึ่งตนเองในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Independent Learning) ไม่เป็นภาระแก่ผู้ดูแลอย่างที่เคยเป็นมาก่อนในอดีต การเรียนเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอและรวดเร็วเทียบเท่ากับคนทั่วไป ตัวอย่างเช่น คนตาบอดสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เขียนหนังสือ และพิมพ์ออกมาเพื่อนำมาใช้กับคนปกติทั่วไปผลงานการพิมพ์ก็สวยงามมี คุณภาพรวดเร็วกว่าการใช้เขียนเป็นอักษรเบรลล์ คอมพิวเตอร์ที่ปรับใช้แล้วยังสามารถอ่านข้อความที่ปรากฎบนจอให้ ผู้พิการทั้งได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้คนช่วยอ่านอีกต่อไป ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้ผลดีสำหรับคนตาบอด และ ช่วยให้สัมฤทธิ์ผลต่อการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในปัจจุบัน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการต้องปรับใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถที่คนพิการมีอยู่ เช่น ทำนาฬิกาให้พูดบอกเวลาได้ หรือมีการสั่นสะเทือนผูกไว้กับข้อมือ สำหรับคนพิการหูหนวก หูตึง
เป็นต้น การยอมรับและการเผยแพร่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการมีประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ 3 ประการ คือ
1. การยอมรับของคนพิการ หมายถึง การยอมรับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี รวมถึงความตั้งใจจริงยอมรับการฝึกหัด ยอมอดทนฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีนั้นจนชำนาญ และเกิดผลประโยชน์แก่ตน
2. การจัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสม หมายถึง การที่รัฐหรือหน่วยงานสามารถจัดเทคโนโลยีเหล่านั้นให้คนพิการได้อย่างเหมาะสมมีคุณภาพและเพียงพอ
3. การมีนักวิชาการสอนเทคโนโลยี หมายถึง คนที่สอนเทคนิคการใช้หรือทำหน้าที่ปรับได้เพื่อคนพิการจนคนพิการใช้ได้ผลดี สามารถสอนจนคนพิการสามารถเรียนรู้ได้
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับคนพิการ อาจจำแนกได้ดังต่อไปน
1. คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างจากที่คนปกติใช้กันอยู่ อาทิ ระบบปฏิบัติการที่เป็น DOS, Windows, Macintosh, Unix หรืออื่นๆ แต่คอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการ เช่น ตาบอด ได้รับการออกแบบพิเศษ สำหรับผู้ที่เคยชินกับการใช้แป้นพิมพ์ที่เป็นอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากแป้นพิมพ์ทั่วๆ ไป
2. อุปกรณ์ช่วยเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใช้แทนจอมอนิเตอร์ที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้ด้วยตา) โดยอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
2.1 เครื่องสังเคราะห์เสียง (Speech Synthesizer) อาศัยเสียงเป็นสื่อกลางในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะเป็นมอนิเตอร์เสียง ทำหน้าที่เปล่งเสียงออกมาตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้ทำหน้าที่แปลงข้อความบนจอมอนิเตอร์ให้เป็นเสียง
2.2 เบรลล์เอาต์พุต (Braille Output) ใช้อักษรเบรลล์เป็นสื่อกลางในการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งอาจ ทำได้ 2 วิธี การใช้จอที่แสดงผลข้อมูลเป็นอักษรเบรลล์ขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์ (Braille Display) หรือใช้วิธีพิมพ์เอกสารที่ได้ผ่านเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (Braille Printer)
3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบมาทำหน้าที่เฉพาะดังต่อไปนี้
3.1 เครื่องอ่านหน้าจอ (Screen Reader) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลบนจอภาพให้เป็นเสียง ซึ่งสามารถได้ยินจากเครื่องสังเคราะห์เสียง
3.2 เครื่องขยายหน้าจอ (Screen Enlarge ment) ทำหน้าที่ขยายตัวอักษรหรือรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้บุคคลที่สายตาเลือนลางสามารถอ่านจอคอมพิวเตอร์ได้
3.3 เครื่องแปลอักษรเบรลล์ (Braille Translation) ทำหน้าที่แปลข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นอักษรสิ่งตีพิมพ์หรือที่เป็นรูปภาพให้เป็นอักษรเบรลล์ เพื่อการแสดงผลบนจอเบรลล์ (Braille Display) หรือเพื่อ การพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารอักษรเบรลล์ต่อไป
นอกจากนั้นยังมีการนำเอาเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้กับคนพิการในลักษณะบูรณาการ กล่าวคือนำเอาอุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และ สิ่งอำนวยความสะดวกชนิดอื่นๆ อีกมาใช้ เช่น เครื่องอ่านหนังสือซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน เข้าด้วยกัน ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์ โปรแกรม OCR (Optical Character Recognition) เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอ่านจอภาพ โปรแกรมสังเคราะห์เสียง หรือจอแสดงเบรลล์ เป็นต้น
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับคนพิการเป็นสิ่งที่ช่วยคนพิการให้เกิดการเรียนรู้และสามารถพึ่ง ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อพิจารณาถึงการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ทำให้เกิดความ เข้าใจ และปลูกจิตสำนึกในสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งนำไปสู่ความเท่าเทียมกันของด้านโอกาสในการเรียนรู้การประกอบอาชีพ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่อำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่ละประเภทอย่างจริงจัง


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง ทำให้การเรียนการสอนด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector) มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่างๆ รูปแบบของสื่อการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น มัลติมีเดีย อิเล็กทรอนิกส์ยุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ ไฮเปอร์เท็กซ์ คอมพิวเตอร์ และระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน ซีเอไอ ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Computer-Assisted Instruction หรือเรียกย่อๆ ว่า ซีเอไอ (CAI) การจัดโปรแกรมการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) หมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ ลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นบทเรียนที่ช่วยการเรียนการสอน และมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยจัดบทเรียนให้เป็นระบบและเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน โดยมีลักษณะสำคัญๆ ดังนี้
1. เริ่มจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ จัดเนื้อหาเรียงไปตามลำดับจากง่ายไปสู่ยาก
2. การเพิ่มเนื้อหาให้กับผู้เรียนต้องค่อยๆ เพิ่มทีละน้อย และมีสาระใหม่ไม่มากนักนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเข้าใจ
3. แต่ละเนื้อหาต้องมีการแนะนำความรู้ใหม่เพียงอย่างเดียวไม่ให้ที่ละมากๆ จนทำให้ผู้เรียนสับสน
4. ในระหว่างเรียนต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับบทเรียน เช่น มีคำถามมีการตอบ มีทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบ ซึ่งทำให้ผู้เรียนสนใจอยู่กับการเรียนไม่น่าเบื่อหน่าย
5. การตอบคำถามที่ผิด ต้องมีคำแนะนำหรือทบทวนบทเรียนเก่าอีกครั้ง หรือมีการเฉลย ซึ่งเป็นการเพิ่ม เนื้อหาไปด้วย ถ้าเป็นคำตอบที่ถูกผู้เรียนได้รับคำชมเชย และได้เรียนบทเรียนต่อไปที่ก้าวหน้าขึ้น
6. ในการเสนอบทเรียนต้องมีการสรุปท้ายบทเรียนแต่ละบทเรียนช่วยให้เกิดการวัดผลได้ด้วยตนเอง
7. ทุกบทเรียนต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ให้ชัดเจน ซึ่งช่วยให้แบ่งเนื้อหาตามลำดับได้ดี


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอนมีประโยชน์หลายประการดังนี้
1. ทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น
2. ทำให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้หลายแบบตามความถนัดของแต่ละบุคคล
3. ทำให้ไม่เปลืองสมองในการท่องจำสิ่งที่ไม่ควรจะต้องจำ ใช้สมองในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจแทน
4. ทำให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
5. ทำให้ผู้เรียนมีอิสระภาพในการเรียน ไม่ต้องคอยครู อาจารย์ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาที่ต้องการ
6. ทำให้ผู้เรียนสามารถสรุปหลักการ เนื้อหา สาระของบทเรียนแต่ละบทเรียนได้

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำมาใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ นักวิชาการและนักการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้จัดแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้ดังนี้
1. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการสอน (Tutoring) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นในลักษณะของบทเรียนที่ลอกเลียนแบบ การสอนของครู กล่าวคือ มีบทนำ มีคำบรรยาย ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎี กฎเกณฑ์ แนวคิดที่สอนหลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาแล้วก็มีคำถาม (Question) เพื่อใช้ในการตรวจสอบความเข้าใจของ นักเรียน มีการป้อนกลับ ตลอดจนมีการเสริมแรงและสามารถให้นักเรียนย้อนกลับไปเรียนบทเรียนเดิมได้ หรือข้ามบทเรียนที่ได้เรียนรู้ แล้วได้นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกการเรียนของนักเรียนไว้ได้ เพื่อให้ครูนำข้อมูลการเรียนของแต่ละคนกลับไปแก้ไขนักเรียนบางคนได้
2. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการฝึก (Drill and Practice) แบบฝึกส่วนใหญ่ใช้เพื่อเสริมทักษะเมื่อครูได้สอน บทเรียนบางอย่างไปแล้ว จุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดกับคอมพิวเตอร์เพื่อวัดระดับ หรือให้ฝึกจนถึงระดับที่ยอมรับได้ บทเรียนประเภทนี้ จึงประกอบด้วยคำถามและคำตอบ การเตรียมคำถามต้องเตรียมไว้มากๆ ซึ่งผู้เรียนควรได้สุ่มขึ้นมาฝึกเองได้ สิ่งสำคัญของการฝึกคือต้องกระตุ้นให้นักเรียนอยากทำ และตื่นเต้นกับการทำแบบฝึกหัดนั้น ซึ่งอาจมีภาพเคลื่อนไหว คำพูดโต้ตอบ มีการแข่งขัน เช่น จับเวลา หรือสร้างรูปแบบที่ท้าทายความสามารถในการคิด และการแก้ปัญหา
3. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้จำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ในชีวิตจริงของนักเรียนโดยมีเหตุการณ์สมมติต่างๆ อยู่ในโปรแกรม และผู้เรียนสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำได้สามารถมีการโต้ตอบ และมีวัตแปร หรือทางเลือกหลายๆ ทาง การสร้างสถานการณ์จำลองขึ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เมื่อสถานการณ์จริงไม่สามารถทำได้ เช่น การเคลื่อนที่ของลูกปืน การ เดินทางของแสงการหักเหของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการทำปฏิกิริยาทางเคมีที่อาจเกิดการระเบิดขึ้น หรือการเจริญเติบโตนี้ใช้เวลานาน หลายวันการใช้คอมพิวเตอร์ สร้างสถานการณ์จำลองจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
4. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อเป็นเกมในการเรียนการสอน โปรแกรมประเภทนี้นับเป็นแบบพิเศษของแบบจำลองสถานการณ์ โดยมีการแข่งขันเป็นหลัก ซึ่งสามารถเล่นได้คนเดียวหรือหลายคน ก่อให้เกิดการแข่งขันและร่วมมือกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากโดยการเพิ่มคุณค่าทางการศึกษาจุดมุ่งหมาย เนื้อหา และกระบวนการที่เหมาะสม
5. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการทดสอบ (Testing) เป็นโปรแกรมที่ใช้รวมแบบทดสอบไว้และสุ่มข้อสอบตามจำนวนที่ต้องการ โดยที่ข้อสอบเหล่านั้น ผ่านการสร้างมาอย่างดีมีความเชื่อถือได้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โปรแกรมมีการตรวจข้อสอบให้คะแนน วิเคราะห์ และประเมินผลให้ผู้สอบได้ทราบทันที
6. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการไต่ถามข้อมูล (Inguiry) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อเท็จจริงหรือข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในตัวคอมพิวเตอร์แบบนี้จะมีแหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งสามารถแสดงได้ทันทีเมื่อผู้เรียน ต้องการ ด้วยระบบง่ายๆ ที่ผู้เรียนสามารถทำได้เพียงแต่กดหมายเลข หรือใส่รหัส ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลที่ต้องการไต่ถามได้ตามต้องการ นอกจากนั้นยังนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในลักษณะอื่นๆ เช่น การนำเสนอประกอบการสอน การใช้เพื่อฝึกแก้ปัญหาการสาธิต เป็นต้น


การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอนเป็นเทคโนโลยีสูงสุดมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้จากการสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Trainning) เป็นต้น

ความหมาย
การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักเป็นการประยุกต์ใช้ยุทธวิธีการสอนด้านพุทธพิสัย (Cognitive) ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเรียนที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ และการเรียนแบบร่วมมือกัน (Collaborative Learning) เนื่องจากการเรียนแบบนี้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนด้วยตนเอง เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center) และเรียนด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Learner Interaction)
การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักเป็นการจำลองสถานการณ์การเรียนการสอนในห้องเรียนในรูปของสืบค้นองค์ความรู้จากเว็บ หรืออาจเรียกว่า อีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอีเอ็ดยูเคชั่น (E-Education) และเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ช (E-commerce)
รูปแสดงระบบ E-commerce , E-Education , และ E-learning

องค์ประกอบของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
1. ระบบการเรียนการสอน มีการจัดการและออกแบบภายใต้วิธีการของระบบคือ จะต้องมีสิ่งนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และสิ่งที่ได้รับ (Output)สิ่งนำเข้า ในที่นี้ ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน วัตถุประสงค์ การเรียน สื่อการสอน ฐานความรู้ การสื่อสารและกิจกรรม การประเมินผล เป็นต้นกระบวนการ ได้แก่ การสร้างสถานการณ์หรือการจัดสภาวะการเรียนการสอน โดยใช้วัตถุดิบจากสิ่งนำเข้าตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอนสิ่งที่ได้รับ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งได้จากการวัดและประเมินผล
2. ความเป็นเงื่อนไข เงื่อนไขถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก อาทิ กำหนดว่าเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนแล้วจะต้องทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ หากทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็สามารถไปศึกษาบทเรียนอื่นๆ หรือบทเรียนที่ยากขึ้นเป็นลำดับได้ แต่ถ้าไม่ผ่านตามเงื่อนไขนี้กำหนดจะต้องเรียนซ้ำจนกว่าจะผ่านเกณฑ์นั้น
3. การสื่อสารและกิจกรรม การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ขึ้น ส่วนกิจกรรมจะเป็นตัวกระตุ้นให้ปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้ต่างไปจากห้องเรียนปกติ กิจกรรมจะเป็นตัวช่วยให้การเรียนรู้เข้าสู่วัตถุประสงค์ได้ง่ายขึ้น การสื่อสารและกิจกรรม เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับเนื้อหาวิชา
4. สิ่งนำทางการค้นคว้า เป็นการกำหนดแหล่งความรู้ภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนโดยกำหนดด้วยสิ่งนำทางการค้นคว้า เช่น แหล่งความรู้ภายนอกที่กำหนดอย่างเป็นลำดับ กล่าวคือมีการศึกษาก่อนหลัง มีความยากง่ายเป็นลำดับ มีการจัดเรียน หัวข้อตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนไม่หลงทาง และเรียนรู้ไปตามลำดับขั้นตอน

ประเภทของสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
1. เวิล์ดไวด์เว็บ (World Wide Web)
2. อีเมลย์ (E-mail)
3. กระดานขาว (Chat)
4. แชท (Chat)
5. ไอซีคิว (ICQ)
6. คอนเฟอเรนซ์ (Conference)
7. การบ้านอิเล็กทรอนิกส์

คุณค่าทางการศึกษา ของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
1. ช่วยเปิดโลกกว้างทางการศึกษา แหล่งวิทยาการ ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกตลอดจนเรียนรู้ด้าน วัฒนธรรมซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้ทั่วโลก
2. ค้นคว้าข้อมูลข่าวสารได้มากมายหลากหลายในลักษณะที่เป็นสื่อประเภทอื่นๆ ผู้เรียนที่อยู่ในสถาบันการศึกษาอื่นๆ หรือต่างโรงเรียนกัน ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศก็สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายได้
3. ฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระ ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลในเครือข่ายมีมากผู้เรียนจึงต้องคิดวิเคราะห์อยู่เสมอ เพื่อแยกแยะสารสนเทศที่เป็นสาระสำหรับตน
4. ขยายขอบข่ายการเรียนรู้ในห้องเรียนออกไป เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสำรวจข้อมูลตามความสนใจของผู้เรียน นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสมองปัญหาได้หลากหลายแง่มุมมากขึ้น
5. ทำให้ผู้เรียนสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำปรึกษาได้โดยอิสระ ถือเป็นแรงจูงใจที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ของผู้เรียน
6. ทำให้เรียนได้มีโอกาสศึกษาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ บนคอมพิวเตอร์และบนเครือข่ายต่างๆ ไปพร้อมๆ กับการเรียน

ข้อดีของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
1. ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับแหล่งการเรียนผู้อื่นๆ
2. ช่วยลดรายจ่ายในสภาพการเรียนการสอนจริงที่มีอาคารพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมาก มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์และบางครั้งอาจเสี่ยงอันตราย ดังนั้นการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้
3. ทำข้อมูลให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบันได้ง่ายและรวดเร็วจึงทำให้เนื้อหาวิชาที่ผู้เรียนได้รับถูกต้องอยู่เสมอ
4. ข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอนสามารถอ้างอิงผ่านระบบการสืบค้นได้ทันที

ข้อจำกัดของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
1. ค่าใช้จ่ายในเรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์ การติดตั้ง ค่าเช่า กรณีอยู่ต่างจังหวัดมีราคาสูงมาก
2. ขาดผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบระบบการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต
3. มีอุปสรรคในด้านภาษาเนื่องจากข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ
4. ประสิทธิภาพการเรียนทั้งหมดอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ อาจารย์ผู้สอนไม่สามารถควบคุมการเรียนของ ผู้เรียนได้
5. ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลและสืบค้นยังช้าทำให้เกิดความน่าเบื่อหน่าย
6. ผู้ใช้ยังขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายจึงทำให้ไม่ค่อยอยากใช้ และไม่สนใจที่จะเรียนใน รูปแบบนี้
7. ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเรียนการสอนของสังคม ซึ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้จากครู-อาจารย์เป็นหลัก
8. ขาดการสนับสนุนและปฏิรูปการจัดการศึกษาจากผู้บริหารในทุกระดับซึ่งไม่เข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ


มัลติมีเดีย เทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวหน้าจนสามารถรองรับการแทนข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ได้มากขึ้น สามารถนำเสนอข่าวสารที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น การผสมรูปแบบหลายสื่อจึงทำได้ง่าย เช่น การใช้ภาพที่เป็นสีแทนภาพขาว - ดำ เพื่อทำให้เข้าใจดีขึ้น ภาพเคลื่อนไหวทำให้น่าตื่นเต้นเรียนรู้ได้ง่ายตลอดจนการมีเสียงเมื่อนำมารวมเข้าด้วยกันเป็นมัลติมีเดีย ซึ่งการผสมรูปแบบสื่อหลายอย่างทำให้การเรียนรู้สมบูรณ์ขึ้น เมื่อราวๆ ต้นปี พ.ศ. 2524 มีระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าวินโดวส์ 3.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่อง พี ซี และเป็นระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า กราฟิกยูชเซอร์อินเตอร์เฟส (GUI : Graphical User Interface) ซึ่งมีลักษณะอินเตอร์เฟสเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช เป็นอินเตอร์เฟสที่แสดงได้ทั้งข้อความและกราฟิกและง่ายต่อการใช้ ประกอบกับที่โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้ให้กว้างขว้างขึ้น ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2535 วินโดวส์มีศักยภาพในเรื่องของภาพและเสียง ในปีเดียวกันนี้จึงเกิดมาตรฐาน เอมพีซี (MPC: multimedia personal computer) ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นสิ่งกำหนดระบบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้านมัลติมีเดีย การเริ่มต้นใช้วินโดวส์ 3.1 เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2536 ทำให้สามารถขยายการใช้มัลติมีเดียได้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น กล่าวคือรายการเล่นไฟล์เสียง ไฟล์มีดี ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว และภาพยนตร์ จากแผ่นซีดีรอมได้ จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของมัลติมีเดียบนเครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี ดังนั้นการใช้มัลติมีเดีย คือการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการ ผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ สีสรร ภาพกราฟิก ภาพเครื่องไหว เสียง และภาพพยนต์วีดิทัศน์ และผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อให้เสนอของมาตามต้องการได้ ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด เมาส์ หรือตัวชี้เป็นต้น
คุณค่าของมัลติมีเดีย มัลติมีเดียได้นำมาใช้ในการฝึกอบรม การทหาร และอุตสาหกรรม และยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการศึกษา ทั้งนี้เพราะว่าเทคโนโลยีมัลติมีเดียสามารถทีจะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี กราฟิก ภาพถ่าย วัสดุตีพิมพ์ และภาพยนตร์วีดิทัศน์ และสามารถที่จะจำลองภาพการเรียนการสอน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ โดยตรง
จุดเด่นของการใช้มัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีดังนี้
1. ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองแบบเชิงรุก กับแบบสื่อนำเสนอการสอนแบบเชิงรับ
2. สามารถเป็นแบบจำลองการนำเสนอ หรือตัวอย่างที่เป็นแบบฝึก และสอนที่ไม่มีแบบฝึก
3. มีภาพประกอบและมีปฏิสัมพันธ์
4. เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาเพื่อช่วยการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีศักยภาพ
5. ยอมให้ผู้ใช้ควบคุมได้ด้วยตนเอง และมีระบบหลายแนวทางในการเข้าถึงข้อมูล
6. สร้างแรงจูงใจและมีหลายรูปแบบการเรียน
7. จัดการด้านเวลาในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่า
การใช้มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
การใช้มัลติมีเดียก็เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียนและสนองต่อรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน การจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่นำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริงโดยสามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี นักเรียนอาจเรียนหรือฝึกซ้ำได้ และใช้มัลติมีเดียในการฝึกภาษาต่างประเทศ โดยเน้นเรื่องของการออกเสียงและฝึกพูด มัลติมีเดียสามารถเชื่อมทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกันคือ ให้โอกาสผู้ใช้บทเรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติในสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน และช่วยเปลี่ยนผู้ใช้บทเรียนจากสภาพการเรียนรู้ในเชิงรับ มาเป็นเชิงรุก ในด้านของผู้สอนใช้ มัลติมีเดียในการนำเสนอการสอนในชั้นเรียนแทนการสอนโดยใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ทั้งนี้เนื่องจากมัลติมีเดียจะสามารถนำเสนอความรู้ได้หลายสื่อและเสมือนจริงได้มากกว่าการใช้สื่อประเภทแผ่นใสเพียงอย่างเดียวองค์ประกอบของมัลติมีเดีย ระบบมัลติมีเดียที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่เน้นการโต้ตอบกับผู้เรียน กล่าวคือ เมื่อคอมพิวเตอร์นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ผู้ใช้สามารถโต้ตอบในลักษณะเวลาจริง (Real Time) การโต้ตอบจึงทำให้รูปแบบของการใช้งานมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้น ดังนั้นระบบมัลติมีเดียจึงเป็นระบบการนำข้อมูลข่าวสารที่มีขนาดใหญ่มาใช้กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเน้นการใช้สื่อผสมหลายรูปแบบ ได้แก่ เสียง ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และวีดิทัศน์ เป็นต้น มัลติมีเดียสามารถสร้างขึ้นจากโปรแกรมประยุกต์หลายๆ โปรแกรมแต่อย่างใดก็ตาม จะต้องประกอบด้วย 2 สื่อ หรือมากกว่าตามองค์ประกอบดังนี้คือข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ และภาพยนต์วีดิทัศน์ ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า การที่มัลติมีเดียแทนข้อมูลข่าวสารได้มากและน่าสนใจ ตลาดของมัลติมีเดียจึง กว้างขวางและเป็นตลาดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในวงการศึกษามัลติมีเดียมีความเหมาะสมสำหรับองค์ประกอบการ เรียนรู้เป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้โดยตอบรับประสาทสัมผัสได้มากกว่า มัลติมีเดียจึงเป็นสื่อทางการเรียนการสอนและการศึกษาที่มีขอบเขตกว้างขวาง เพิ่มทางเลือกในการเรียนและการสอน สามารถสนองต่อรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกันได้ สามารถจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ได้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนลงมือปฏิบัติจริง สามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี จึงกล่าวได้ว่ามัลติมีเดียมีความเหมาะสมที่นำมาใช้ทางการสอนและการศึกษา

อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค พัฒนาการอีกด้านหนึ่งคือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอมได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่างๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์ยุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ ปัจจุบันแนวโน้มด้านราคาของซีดีรอมมีแนวโน้มถูกลงเรื่องๆ จนแน่ใจว่าสื่อซีดีรอมจะเป็นสื่อที่นำมาใช้แทนหนังสือที่ใช้กระดาษในอนาคต ทั้งนี้เชื่อว่าสื่อที่ใช้กระดาษจะมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น ในการประยุกต์อิเล็กทรอนิกส์บุคมาให้ทางการศึกษา มักใช้เพื่อเป็นสื่อแทนหนังสือ หรือตำรา หรือใช้เพื่อเป็นสื่อเสริมการเรียนด้วยตนเอง ผู้เรียนนำแผ่นซีดีที่บรรจุข้อมูลหนังสือทั้งเล่มมาอ่านด้วยคอมพิวเตอร์ และเมื่อต้องการข้อมูลส่วนใดก็สามารถคัดลอกและอ้างอิงนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดพิมพ์ใหม่ โปรแกรมประยุกต์ในปัจจุบันที่ใช้อ่านข้อมูลที่จัดเก็บในแผ่นซีดีรอม ได้แก่ Acrobat Reader, Nescape Navigator, Internet Explorer เป็นต้นระบบการเรียนการสอนทางไกล การศึกษาเน้นระบบการกระจายการศึกษา การเรียนการสอนทางไกลเป็นช่องทางหนึ่งที่ใช้เพื่อกระจายการศึกษา ระบบการกระจายการศึกษาที่ได้ผลในปัจจุบัน และเข้าถึงมวลชนจำนวนมาก ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วย ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีสถานีโทรทัศน์เพิ่มขึ้นอาจจะมากกว่า 100 ช่องในอนาคต และมีระบบโทรทัศน์ที่กระจายสัญญาณโดยตรงผ่านความถี่วีเฮซเอฟ (VHF) และยูเฮชเอฟระบบวีเอชเอฟได้แก่สถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 และช่อง 11 ส่วนระบบยูเฮชเอฟ ได้แก่ ไอทีวี (ITV) และยังมีระบบดีทีเฮช (DTH : Direct to Home) คือระบบที่กระจายสัญญาณโทรทัศน์จากดาวเทียมลงตรงยังบ้านที่อยู่อาศัย ทำให้ครอบคลุมพื้นที่การรับได้กว้างขวางเพราะไม่ติดขัดสภาพทางภูมิประเทศที่มีภูเขาขวางกั้น ดังนั้นการใช้ระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา การเรียนการสอนทางไกลโดยใช้ระบบโทรทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีข้อจำกัดคือ เป็นการสื่อสารทางเดียว (One-way) ทำให้ผู้เรียนได้รับข่าวสารข้อมูลเสียงด้านเดียวไม่สามารถซักถามปัญหาต่างๆ ได้จึงมีระบบกระจายสัญญาณในรูปของสาย (Cable) โดยใช้เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ในการสื่อสารเหมือนสายโทรศัพท์ แต่มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดา และส่งกระจายสัญญาณไปตามบ้านเรือนต่างๆ ก่อให้เกิดระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Videoteleconference) ขึ้น ระบบดังกล่าวนี้เป็นระบบโต้ตอบสองทาง (Two-way) กล่าวคือทางฝ่ายผู้เรียนสามารถเห็นผู้สอนและผู้สอนก็เห็นผู้เรียนถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกัน ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาตอบโต้กันเห็นภาพกันเสมือนนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน ระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์จึงเป็นระบบหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาทางไกลเป็นอย่างมาก
เมื่อระบบการศึกษาเน้นระบบการกระจายการศึกษา การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติและมีครูเป็นผู้สอนจำกัดเวลาเรียนตายตัว และต้องเรียนในสถานที่ที่จัดไว้ให้ก็อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนช่วยในการเรียนรู้ และเชื่อมโยงการสอนของครูที่เก่า หรือเชี่ยวชาญไปสู่ผู้เรียนในสถานที่ต่างๆ ได้ทั่วถึงและรวดเร็ว ระบบการเรียนการสอนทางไกลจึงเกิดขึ้น ซึ่งสนองความต้องการของสังคม ปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสารการสอนทางไกลเป็นการเปิดโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึงทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต

การเรียนการสอนทางไกล หมายถึง การเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ และประสบการณ์โดยอาสัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ ได้แก่ สื่อที่เป็นหนังสือ สื่อทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง (Video Conference) อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นต่างที่กันสามารถศึกษาความรู้ได้
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนทางไกล

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบการเรียนการสอนทางไกล มีดังนี้
1. ผู้เรียนเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่มีอิสระในการกำหนด เวลา สถานที่ และวิธีเรียน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น จากการสอนสดโดยผ่านการสื่อสารทางไกลและเรียนผ่านระบบสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2. ผู้สอนเน้นการสอนโดยใช้การสื่อสารทางไกลแบบ 2 ทาง และอาศัยสื่อหลากหลายชนิดซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้ด้วยตนเองหรือเรียนเสริมภายหลังได้
3. ระบบบริหารและการจัดการ จัดโครงสร้างอื่นๆ เพื่อเสริมการสอน เช่น การจัดศูนย์วิทยบริการ จัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาระบบการผลิตสื่อ และจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรง เป็นต้น
4. การควบคุมคุณภาพ จัดทำอย่างเป็นระบบและดำเนินการต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้นการควบคุมคุณภาพในด้านขององค์ประกอบของการสอน เช่น ขั้นตอนการวางแผนงานละเอียด กระบวนการเรียนการสอน วิธีการประเมินผลและการปรับปรุงกระบวนการ เป็นต้น
5. การติดต่อระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และสถาบันการศึกษาเป็นการติดต่อแบบ 2 ทาง โดยใช้โทรทัศน์ โทรสาร ไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

กระบวนการเรียนการสอนมีขั้นตอนสำคัญๆ 3 ขั้นตอนคือ
1. การเรียน - การสอน การเรียนทางไกลอาศัยครูและอุปกรณ์การสอนสามารถใช้สอนนักเรียนได้มากกว่า 1 ห้องเรียน และได้หลายสถานที่ ซึ่งจะเหมาะกับวิชาที่นักเรียนหลายๆ แห่งต้องเรียนเหมือนๆ กัน เช่น วิชาพื้นฐาน ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องจ้างครูและซื้ออุปกรณ์สำหรับการสอนในวิชาเดียวกันของแต่ละแห่ง การสอนนักเรียนจำนวนมากๆ ในหลายสถานที่ครูสามารถเลือกให้นักเรียนถามคำถามได้ เนื่องจากมีอุปกรณ์ช่วยในการโต้ตอบ เช่น ไมโครโฟน กล้องวิดีทัศน์ และ จอภาพเป็นต้น
2. การถาม - ตอบ ขั้นตอนที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือการใช้คำถามเพื่อให้เกิดการโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ สื่อที่ใช้อาจเป็นโทรศัพท์ หรือกล้องวิดีทัศน์ในระบบการสอนทางไกลแบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ หรือโทรสาร หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการถามตอบภายหลัง3. การประเมินผล
รูปแบบการประเมินผลการเรียนการสอนทางไกลนั้นผู้เรียนสามารถส่งการบ้าน และทำแบบทดสอบโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจเป็นรูปแบบการประเมินผลในห้องเรียนปกติ (ในห้องสอบที่จัดไว้) เพื่อผสมผสานกันไปกับการเรียนทางไกล
ดังนั้นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสอนทางไกลจะประสบผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าผู้นำมาใช้เข้าใจแนวคิดหลักการตลอดจนมีการวางแผนและเตรียมการไว้เป็นอย่างดี โดยคำนึงถึงการสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนให้มากจะทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น การใช้สื่อและอุปกรณ์การสื่อสารอย่างหลากหลายทำให้เกิดสภาวะยึดหยุ่นของการจัด ซึ่งหมาะสมกับสภาวะการณ์ในปัจจุบันโดยทั้งหมดทำให้บรรลุเป้าหมายที่สำคัญคือความสามารถในการกระจายโอกาสทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพของการศึกษา จึงกลายเป็นทางลัดที่เอื้อต่อการเรียนหลายประเภทและไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา


วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึง การประชุมทางจอภาพโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคลหรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่และห่างไกลคนละซีกโลก ด้วยสื่อทางด้านมัลติมีเดียที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษรในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียงของครู สามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของครูในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียงขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสารที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์ หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัสผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
องค์ประกอบพื้นฐานของวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เครือข่ายโทรคมนาคม มีหน้าที่เชื่อมสัญญาณจากผู้ร่วมประชุมแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อการประชุม
2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Terminal) เป็นอุปกรณ์ด้านทางและปลายทาง ทำหน้าที่รับและถ่ายทอดภาพและเสียงได้แก่ จอโทรทัศน์ เครื่องฉ่ายภาพนิ่ง กล้องวิดีทัศน์ ไมโครโฟน เป็นต้น

อุปกรณ์เชื่อมต่ออุปกรณ์เชื่อมต่อที่สำคัญของระบบวิดีโอเทเลเฟอเรนซ์ ประกอบด้วย
1. กล้องโทรทัศน์ เป็นกล้องโทรทัศน์ที่ใช้ในการถ่ายภาพ มีระบบเซอร์โวเพื่อควบคุมในระยะไกลให้กล้องสามารถปรับมุมเงย มุมก้ม กวาดทางซ้ายหรือทางขวา ซูมภาพ เป็นต้น กล้องโทรทัศน์ที่ใช้จะสามารถควบคุมได้จากที่หนีงไปยังอีกที่หนึ่งในระยะไกลได้
2. จอภาพโทรทัศน์ หรือจอมอนิเตอร์ เป็นจอภาพที่สามารถใช้ได้ทั้งกับระบบ PAL หรือ NTSC ภาพที่ปรากฏมีระบบรวมสัญญาณเพื่อแบ่งจอภาพออกเป็นจอเล็กๆ เพื่อดูปลายทางของแต่ละด้าน หรือดูภาพของตนเองระบบจอภาพอาจขยายเป็นจอใหญ่ขนาดหลายร้อยนิ้วได้ เช่น การใช้เครื่องฉายภาพโทรทัศน์แทนจอภาพโทรทัศน์ เป็นต้น
3. เครื่องขยายเสียง มิกเซอร์ และไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขยายเสียงทั้งที่ต้นทางและปลายทาง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ร่วมประชุม หรือผู้เรียนในห้องทางไกลและด้านทางได้ยินเสียงชัดเจน สำหรับมิกเซอร์ใช้เพื่อรวมสัญญาณเสียงจากเครื่องเล่นวิดีทัศน์ จากคอมพิวเตอร์และจากไมโครโฟน
4. คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวิดีทัศน์ และกล้องเอกสาร เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้สื่อต่างๆ ประกอบการประชุมหรือสอนทางไกล เช่น การใช้ Power Point นำเสนอ ข้อความ ภาพ หรือใช้กล้องเอกสารเพื่อส่งข้อความในรูปเอกสาร หรือนำเสนอข้อมูลในหนังสือหรือตำรา ส่วนเครื่องเล่นวิดีทัศน์ใช้เพื่อนำรายการวิดีทัศน์ไปให้ผู้ชมที่อยู่ต้นทาง และปลายทางเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้สื่อมากยิ่งขึ้น
5. แป้นควบคุม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคุมระบบ เช่น ควบคุมการปรับมุมกล้องที่ปลายทาง หรือที่ ต้นทาง การเลือกช่องสัญญาณการปรับระดับเสียง การปิดเสียง การปรับภาพและสลับภาพ การปรับมุมกล้องและขนาดของภาพที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทัศน์ รวมถึงการใช้โทรเพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น
6. อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ลำโพง เครื่องโทรสาร เครื่องโทรทัศน์ ทั้งที่ต้นทางและปลายทาง เพื่อการ สื่อสารด้วยช่องทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้น
7. อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส (Codec) ในการใช้ระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ มีความจำเป็นที่ต้องใช้ตัวเข้ารหัสและถอดรหัสจำนวน 2 ชุด เพื่อแปลงสัญญาณแบบอะนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล และถอดรหัสกลับมาเป็นสัญญาณอะนาล็อกเพื่อออกทางจอภาพโทรทัศน์และเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ได้การสื่อสารที่เหมือนกับต้นทางมากที่สุด


ระบบวิดีโอออนดีมานด์ วิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ควมเร็วสูงทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่างๆ สามารถเลือกรายการวีดิทัศน์ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์เป็นระบบที่มีศูนย์กลางการเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใดก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้
องค์ประกอบของระบบวีดีโอออนดีมานด์ ได้แก่ วีดีโอเซอร์ฟเวอร์ [Video Server (s)] เครื่องข่ายการสื่อสารแบบเอทีเอม (ATM) และวิดีโอ ไครแอนท์ (Video Client) วิดีโอเซอร์ฟเวอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมีที่เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมากและมีความเร็วในการอ่านข้อมูลสูง เพื่อที่จะเก็บข้อมูลวิดีโอ สนองต่อความต้องการโดยผ่านทางเครือข่ายเอทีเอ็มของผู้ใช้ ภายใน เซอร์ฟเวอร์ยังเป็นที่บรรจุเอ็นโค้ดเดอร์รีลไทม์ เพื่อสำหรับการแอ็กเซสไปสู่รายการต่างๆ โดยปกติแล้วข้อมูลวิดีโอ มีขนาดใหญ่และต้องการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง เมื่อใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูลแบบเอ็มเพ็ก (Mpeg) จึงทำให้การส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นและข้อมูลภาพยนต์ไม่ใหญ่มากเกินไป ขนาดของข้อมูลเป็นตัวกำหนดคุณภาพ เช่น ส่งข้อมูลขนาด 1-5 เม็กกะบิตต่อวินาที ใช้มาตรฐาน MPEG-1 สำหรับคุณภาพระดับวีดิทัศน์ระบบวีเฮชเอส (VHS) และ 6-8 เม็กกะบิตต่อวินาที (6-8 Mbps) สำหรับคุณภาพ MPEG-2 หรือระดับ ดีวีดี (DVD) เครื่องวิดีโอเซอร์เวอร์ต้องมี ประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับและแจกจ่ายข้อมูลวิดีโอเหล่านั้นไปยังผู้ใช้บริการ เครื่องขายการสื่อสารแบบเอทีเอม (ATM:Asynchronous Transfer Mode) เป็นสถาปัตยกรรมที่มีการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง โดยข้อมูลรายการต่างๆ จะสร้างขึ้นมาในวิดีโอเซอร์ฟเวอร์แล้วแปลงให้เป็น เอทีเอ็ม โหมดจากนั้นก็จะส่งข้อมูลผ่านแอ็กเซสเน็ตเวอร์กโดยอาศัยเอทีเอ็มเซลล์ ไปยังผู้ใช้บริการ วิดีโอ ไครแอนท์ (Video Client) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทีสามารถแปลงข้อมูล ที่ได้รับจากวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ให้เป็นสัญญาณและแสดงผลขึ้นบนจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรทัศน์ได้
แสดงอุปกรณ์ส่วนผู้ใช้ปลายทาง (End-user equipment)
การให้บริการของระบบวีดิโอออนดีมานด์
ระบบวิดีโอออนดีมานด์ต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
1. ความสามารถในการให้บริการวีดิทัศน์ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง (one to one) ไม่ใช้ลักษณะออกอากาศแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast)
2. ผู้ใช้สามารถควบคุมการเล่นภาพได้ในลักษณะเดียวกันกับเครื่องเล่นวิดีโอตามบ้านทั่วไป กล่าวคือ ผู้ใช้ต้องสามารถเล่นภาพ หยุดภาพ กรอกลับ หรือกรอไปข้างหน้าได้ตามต้องการ
3. มีความเร็วในการส่งข้อมูล ภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้อย่างน้อย 1.5 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) สำหรับคุณภาพระดับวีดิทัศน์ระบบวีเฮชเอส (VHS) และอย่างน้อย 6-8 เมกะบิตต่อวินาที สำหรับคุณภาพระดับเลเซอร์ดิสก์ หรือดีวีดี (DVD)
4. มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเพียงพอ เนื่องจากมีข้อมูลที่สำคัญ หรือต้องการเสถียรภาพของระบบบริการที่ดี หมายถึงไม่เกิดความเสียหายกับข้อมูลภาพและเสียง การใช้งานวิดีโอออนดีมานด์ จะให้ความสะดวกต่อผู้ใช้มากกว่าระบบวิดีโอทั่วๆ ไป ซึ่งส่งสัญญาณออกมาชุดเดียว (1 stream) สำหรับผู้ใช้ทุกคนแต่ละคนได้ดูภาพสัญญาณเดียวกัน รายการต่างๆ จะมีเวลาตายตัวตามที่กำหนดไว้ ผู้ใช้ต้องรอเวลาเพื่อที่จะได้ดูรายการที่ต้องการส่วนวิดีโอออนดีมานด์ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเลือกดูรายการที่ตนเองสนใจเวลาใดก็ได้ไม่ขึ้นกับผู้อื่น และไม่ต้องการรอตารางเวลา แต่ก็ต้องใช้ความเร็วของเครือข่ายสื่อสารมาก เนื่องจากต้องส่งสัญญาณวิดีโอแยกสำหรับผู้ใช้แต่ละคน (1 stream ต่อ 1 คน) ดังนั้นเครือข่ายสื่อสารจึงต้องมีความเร็วสูงมาก สามารถนำระบบวิดีโอออนดีมานด์มาใช้เพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี เช่น นำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) โดยนักเรียนสามารถลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง และเมื่อต้องการเรียนโดยเลือกบทเรียนจากวีดิทัศน์ที่เก็บอยู่ในวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ ทำให้นักเรียนสามารถเรียนและทบทวนบทเรียนได้ทุกเวลาตามความต้องการด้วยตนเอง


ไฮเปอร์เท็กซ์ ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบไฮเปอร์เท็กซ์กันมากแม้แต่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์จนมีโปรโตคอลพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์ในปัจจุบันเป็นแบบมัลติมีเดียเพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพโดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไปไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมากส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML , Compossor , FrontPage , Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น
ส่วนประกอบของไฮเปอร์เท็กซ์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
1.พอยน์ (Point) หมายถึง คำวลี หรือประโยคที่ใช้เป็นจุดเชื่อมโยงไปยังข้อมูล ขยายความหมาย บางครั้งอาจ เรียกว่าสมอเชื่อมโยงเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ขยายความมากขึ้น หรือมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
2. โนต (Node) กลุ่มของข้อมูลที่เป็นชุดเดียวกัน และสัมพันธ์กัน หรือเป็นเรื่องเดียวกัน ขนาดของข้อมูลในกลุ่มอาจมีปริมาณมากหรือน้อยก็ได้
3. ลิงค์ (Link) หมายถึง การเชื่อมโยง ซึ่งมีตัวชี้และตัวเชื่อมโยงข้อมูล เป็นสิ่งกำหนดการเชื่อมโยงไฮเปอร์เท็กซ์เข้าด้วยกัน ลิงค์จะเป็นตัวบอกให้โปรแกรมนำโนดมาเสนอแก่ผู้อ่าน หรือเชื่อมโยงไปยังโนดอื่นๆ ตัวชี้ในที่นี้อาจเป็นเคอร์เซอร์รูปนิ้วมือและการคลิกเมาส์ ซึ่งจะเป็นตัวนำไปสู่ข้อมูลส่วนขยายความต้องการ
นอกจากนี้ลิงค์ยังแบ่งออกได้เป็นแบบหนึ่งจุดต่อหลายจุด (One to Many) หรือแบบหลายจุดต่อหนึ่งจุด (Many to One) หลักการของการเชื่อมโยงที่สำคัญจะต้องมีตัวชี้ (Index) หรือจุดอ้างอิง (Reference) เป็นหลักเพื่อเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ของไฮเปอร์เท็กซ์ที่ใช้ทางการศึกษาไฮเปอร์เท็กซ์มีข้อได้เปรียบกว่าการใช้เอกสาร หรือสิ่งพิมพ์อยู่หลายด้าน ได้แก่
1. รูปแบบการนำเสนอและการสืบค้นน่าสนใจ ชวนติดตาม
2. การนำเสนอ สามารถนำเสนอได้ทั้งวีดิทัศน์ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น
3. สามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นๆ ภายนอกได้
4. ผู้ใช้สามารถสืบท่องไปยังเนื้อหาที่สนใจและต้องการได้ด้วยตนเอง
5. มีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ กล่าวคือสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงเนื้อหาได้ง่าย
6. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดได้อย่างรวดเร็ว
7. สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ เพื่อการนำเสนอได้ง่าย ทำให้เกิดกิจกรรมการใช้งานหลาก หลายขึ้น
8. สามารถประยุกต์ใช้กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมได้
9. เกิดความคงทนในการเรียนรู้มากกว่าการใช้เอกสารที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์
10. ส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคลได้เป็นอย่างดี


อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรากฐานความเป็นมาโดยการสนับสนุนของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาที่มีความประสงค์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ จึงสนับสนันทุนวิจัยให้มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาทำการวิจัยเชื่อมโยงเครือข่ายขึ้น และให้ชื่อว่า APRANET ต่อมาเครือข่ายนี้ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วมีคนนิยมใช้กันมากยิ่งขึ้นจึงใช้ชื่อเครือข่ายใหม่ว่าอินเตอร์เน็ต เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยและขยายตัวรวดเร็วออกไปสู่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในหลายประเทศ ประเทศไทยได้เชื่อมโยงเครือข่ายนี้โดยมีมหาวิทยาลัยกว่า 24 แห่ง ต่อผ่านช่องทางสื่อสารเข้าสู่อินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อการศึกษามากทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ตื่นตัวต่อการใช้ ทั้งนี้เพราะว่าในระบบเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารที่ต้องการมากมาย จึงมีอัตราการขยายตัวของผู้ใช้สูงและครอบคลุมทุกแห่งทั่วโลก จึงทำให้อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการศึกษาดังนี้
1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้ โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใปใช้ทางการศึกษาได้ เช่นการแจ้งผลสอบผ่านทางอีเมล์ การส่งการบ้าน การโต้ตอบบทเรียนต่างๆ ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
2. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจ หรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้ เช่น กลุ่มสนใจงานเกษตรก็สามารถมีกระดานข่าวของตนเองไว้สำหรับอภิปรายปัญหากันได้
3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้น โดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ และเสียง ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก
5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย เช่น ฝ่ายหนึ่งอาจอยู่ต่างประเทศอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในที่ห่างไกลก็พูดคุยกันได้และยังสามารถพูดคุยกันเป็นกลุ่มได้
6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้ เช่น มหาวิทยาลัยหนึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์และผู้อยู่อีกมหาวิทยลัยหนึ่งก็ขอใช้ได้ ทำให้มีการใช้ทรัพยากรที่เป็นซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประโยชน์และคุ้มค่าอย่างยิ่ง
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าประโยชน์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษายังมีอีกมาก มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่ง จึงเร่งที่จะมีโครงการสร้างเครือข่ายความเร็วสูงขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ทรัพยากรภายในและผู้ใช้เชื่อมโยงถึงกันได้ นอกจากนั้นยังสามารถต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้
สรุป
การเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศมีลักษณะเป็นแบบก้าวหน้า เช่น มีการพัฒนาทุกๆ สามปี และพัฒนาการทางความเร็วของคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นได้ประมาณสองเท่า เมื่อเป็นเช่นนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมี แนวโน้มที่จะก้าวไปได้อีกมาก ความฝันหรือจินตนาการต่างๆ ที่คิดไว้ จะเป็นจริงในอนาคต พัฒนาการเหล่านี้ย่อมมีบทบาทที่สำคัญต่อการศึกษาอย่างมาก องค์กรที่ทำหน้าที่ในการวางแผนการศึกษาของชาติจะต้องให้ความสำคัญกับ การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้อย่างเต็มที่ การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตามการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการศึกษา และวางแผนให้เหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และอย่าคิดว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนี้เป็นเพียงเครื่องประดับเท่านั้น