วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School)


............สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ขับเคลื่อนการพัฒนายกระดับโรงเรียนชั้นนำที่มีความพร้อมสู่โรงเรียนดีมีมาตรฐานสากล โดยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(นายชินภัทร ภูมิรัตน) ได้มอบนโยบายแก่โรงเรียนในโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพร้อมกันทั่วประเทศ ผ่านการประชุมทางไกล (Tele Conference) พร้อมกับสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย และคณะทำงานได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล เพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางและแนวทางการดำเนินงานเบื้องต้นให้รับทราบแล้วนั้น และเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำเอกสาร “คู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล” ขึ้นจำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย การขับเคลื่อนกลยุทธ์ การพัฒนาหลักสูตรและการสอน การบริหารจัดการ ระบบคุณภาพ การสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนและการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา

สภาพปัจจุบันปัญหา
............ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในประเทศไทยมีการพัฒนาหลักสูตรและการสอนให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียนในหลายรูปแบบ โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายสำคัญเพื่อตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันและทัดเทียมนานาประเทศ ซึ่งมีหลักสูตรและการสอนที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ได้แก่
..........1. หลักสูตรและการสอนทั่วไป เป็นหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการศึกษาให้แก่ประชากรวัยเรียนทุกคนเป็นภาษาไทย
..........2. หลักสูตรและการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ที่เรียกชื่อว่า English Program เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และประวัติศาสตร์ไทย
..........3. หลักสูตรและการสอนกึ่งภาษาอังกฤษ ที่เรียกชื่อว่า IEP (Intensive English Program) หรือ ในความหมายของ IEP International Program สำหรับโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรของ IBO (International Baccalaureate Organization) MEP (Mini English Program) เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษามีรูปแบบที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในหลายโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนในทุกสาระการเรียนรู้เป็นภาษาไทย เน้นเพิ่มเติมจำนวนคาบเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น ในขณะที่โรงเรียนอื่น ๆ มีการจัดการเรียนการสอนในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ และเพิ่มภาษาอังกฤษในคาบเรียนของสาระเพิ่มเติม เป็นต้น หรือ EIL (English-Intergrated Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอน โดยบูรณาการภาษาอังกฤษ
..........4. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและหลักสูตรวิชาชีพ เป็นการบูรณาการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2546) ซึ่งเมื่อผู้เรียนจบหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาที่ต้องการและสามารถศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

.............ต่อมาปี พ.ศ. 2553 กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการโครงการโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลเพื่อยกระดับโรงเรียนให้มีการจัดการเรียนการสอนและการบริหารระบบคุณภาพ (Quality System) มุ่งให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Learner Profile) เทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard) ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World citizen)

“เป็นเลิศวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก”





รูปแบบหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล
...........จากการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษานานาชาติที่มุ่งเน้นความเป็นสากล สามารถสรุปผลและจำแนกประเภทของรูปแบบที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล             เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

การจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล
..........หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากลพัฒนาโดยยึดรูปแบบโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นสำคัญ กล่าวคือ หลักสูตรสถานศึกษามีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ สาระพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สาระเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งแสดงเป็นแผนภูมิการเปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้



การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล
.............การจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน 8 กลุ่มสาระ สถานศึกษา เป็นการจัดการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยสามารถพิจารณาจัดการเรียนการสอนในทุกสาระการเรียนรู้เป็นภาษาไทยหรือในบางสาระการเรียนรู้ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทรัพยากรของแต่ละสถานศึกษา อนึ่ง สถานศึกษาจะต้องให้ความสำคัญในการศึกษา/ทบทวนเนื้อหาในแต่ละกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ โดยเฉพาะกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมให้เนื้อหามีความทันสมัย ร่วมสมัยหรือเป็นเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันและอยู่ในความสนใจของสังคม เป็นต้น

การจัดการเรียนการสอนสาระเพิ่มเติมที่มีความเป็นสากล
          จากการศึกษาการพัฒนาหลักสูตรและการสอนของโรงเรียนมาตรฐานสากลของหลายประเทศพบว่าโรงเรียนต่าง ๆ ได้จัดสาระเพิ่มเติมจำนวน 6 สาระหลัก ได้แก่
.........1. ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge)
.........2. การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended-Essey)
.........3. กิจกรรมโครงงานสาธารณประโยชน์ที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์สู่การปฏิบัติของผู้เรียนที่เรียกชื่อว่า CAS (Creativity, Actions, Service)
.........4. โลกศึกษา (Global Education) เพื่อให้ผู้เรียนมีวิสัยทัศน์และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของความเป็นพลโลก (World Citizen)
.........5. ภาษาอังกฤษ
.........6. ภาษาต่างประเทศที่ 2

สาระการเรียนรู้

.........ทฤษฎีองค์ความรู้ (TOK : Theory of Knowledge) เป็นสาระการเรียนรู้สำคัญที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) ของผู้เรียนและเป็นสาระการเรียนรู้
........1.ขอบข่ายเนื้อหาการเรียนการสอน TOK (Theory of knowledge) เป็นสาระการเรียนรู้ที่ว่าด้วยเรื่องประเด็นความรู้ต่าง ๆ (Knowledge Issues) องค์ความรู้ (Body of Knowledge) และทฤษฎีความรู้ (Theory of knowledge) ของสาระการเรียนรู้พื้นฐานทั้งหมด (Interdisciplinary) ในเชิงบูรณการ ในเชิงปฏิบัติ ครูและผู้เรียน จะต้องร่วมกันกำหนดเนื้อหา โดยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น การระดมสมอง การใช้แบบสอบถาม เกี่ยวกับประเด็นร้อนของสังคม เหตุการณ์ปัจจุบัน สภาพปัจจุบันและปัญหาที่ผู้เรียนหรือสังคมกำลังเผชิญ หรือหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ เป็นต้น จากนั้นครูและผู้เรียนรวบรวมรายชื่อหัวข้อเรื่อง (Topic) อย่างเป็นระบบ โดยจัดเป็นเอกสารลักษณะรูปเล่ม (Directory).ที่มีเป้าหมาย (Goal) เพื่อช่วยผู้เรียนให้สามารถเข้าใจสถานการณ์/บริบทในสังคม และใช้ความรู้ที่ตนได้เรียนรู้มาศึกษาวิเคราะห์สภาพการณ์/สถานการณ์/บริบท สามารถจำแนกระหว่างการให้เหตุผลดี เหมาะสม และเหตุผลที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม (Good and poor reasoning) สามารถวิเคราะห์และให้เหตุผล ความอคติ/ความลำเอียง/เกี่ยวกับอุบัติการณ์ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (to spot international or accidental bias) และสามารถระบุความไม่สมเหตุสมผล (inconsistencies) ของสถานการณ์/สภาพการณ์ต่าง ๆ
........2.วิธีการจัดการเรียนการสอน ครูใช้รูปแบบการสอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สนทนาโต้ตอบ (Discuss) และอภิปรายซักถาม (Debate) โดยไม่มีการตัดสินถูก (Right) หรือ ผิด(Wrong) ในข้อคิดเห็น แต่ครูผู้สอนจะต้องมุ่งพัฒนาส่งเสริม/ฝึกฝนวิธีการให้ความคิดบนพื้นฐานของความรู้และทฤษฎีความรู้ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นให้ข้อมูลขัดแย้งหรือเห็นด้วยอย่างมีคุณภาพ (Quality of justification and a balance approach to the knowledge claim in question) ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนจะต้องจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถและมีทักษะในการนำเสนอแนวคิด/องค์ความรู้ โดยบอกประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นเกี่ยวกับหัวข้อ (Topic) ที่ตนเองเลือก ได้แก่
..........2.1. สามารถบอกช่องทางการรับรู้ความรู้ (ได้รับความรู้มาอย่างไร) เช่น รับรู้ความรู้โดยความรู้สึก (Sense Perception) หรือรู้โดยเหตุผล (Reason)รับรู้โดยอารมณ์ (Emotion) หรือรับรู้จากสื่อภาษา สัญลักษณ์/การให้สมญานาม (language/symbols/nomenclature) เป็นต้น
..........2.2. สามารถบอกสาขาของความรู้ที่ได้รับ (Area of Knowledge) เช่น เป็นความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และศิลปกรรม
..........2.3. สามารถบอกความหมายขององค์ประกอบต่าง ๆ ของความรู้ที่ได้รับในเรื่องต่อไปนี้
.................2.3.1 ธรรมชาติการรับรู้ (Nature of Knowing) เช่น การรับรู้จากประเภทของข้อมูล ได้แก่ สารนิเทศ (information) หรือข้อมูล (Data) หรือ ความเชื่อ (Belief) หรือความศรัทธา (Faith) หรือความคิดเห็น (Opinion) หรือความรู้ (Knowledge) หรือภูมิปัญญา (Wisdom)
.................2.3.2 ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Knowledge of Communities)
.................2.3.3 ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Knower s’ Senses) และ
.................2.3.4 ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ (Justification
.........3.การวัดประเมินผลการเรียน TOK : Theory of Knowledge การวัดประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเรียนการสอน TOK ผู้เรียนจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
............3.1. การเขียนความเรียงขั้นสูง (TOK Essay) นำเสนอแนวคิด ความคิดเห็นการให้เหตุผลเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ผู้เรียนได้รับเลือกจากหัวข้อเรื่องที่ครูกำหนดให้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับสถานการณ์และสภาพสังคมปัจจุบัน
............3.2. การพูดนำเสนอเนื้อเรื่องของความเรียง (TOK Presentation) ผู้เรียนจะต้องนำเสนอหัวข้อของความเรียงในข้อ 1 ในลักษณะของรูปแบบการนำเสนอตามประเด็นระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้น ตามเวลาที่กำหนดให้และในการนำเสนอผู้เรียนจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเสนอความคิดเห็นโดยการอ่านอย่างเด็ดขาด
............3.3. ในการให้คะแนนสำหรับผลงานเขียน (Extended-Essay) และการนำเสนอผลงาน (TOK Presentation) โดยครูผู้สอนพิจารณาความสำคัญของหัวข้อเรื่อง (Topic) ความน่าเชื่อถือของการกำหนดหัวข้อเรื่อง (Reliability) ทฤษฎีและความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) การเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา (Identification of suitable approach) การสรุปผล และการให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (Suggestions) เป็นต้น

.........การเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended-Essay) เป็นสาระการเรียนรู้ ที่จัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนและเรียบเรียงความคิดข้อคิดเห็น การให้ข้อเสนอเชิงวิชาการ โดยใช้ภาษาอย่างถูกต้อง
.........1. ขอบข่ายเนื้อหา เนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ใช้สำหรับการเขียนความเรียงขั้นสูง (Extended-Essay) ได้แก่ วิธีการเขียนชื่อเรื่อง (Title) และการกำหนดประเด็นปัญหา (Research Question) การเขียนคำนำ (Introduction) ผู้เรียนสามารถเขียนสื่อความให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นมาของชื่อเรื่อง ความน่าสนใจของเรื่องที่เขียน คุณค่าของการศึกษาเรื่องนี้ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่ศึกษาบริบทของเรื่องที่เกี่ยวข้องการกำหนดประเด็นปัญหาเรื่องที่ศึกษา และการใช้ภาษาที่สื่อความหมายที่ชัดเจน การเขียนเนื้อเรื่อง (Body of Knowledge) ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องรูปแบบโดย
สร้างและกระบวนวิธีการนำเสนอข้อมูลความคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เป็นที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Investigation) และการเขียนบทสรุป (Conclusion)
.........2. เนื้อหาเกี่ยวกับการเรียบเรียงบทความ การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) การเขียนกิตติกรรมประกาศ (Actknowledgement) การเขียนสารบัญ (Contents Pages) การนำเสนอประกอบ การอธิบายด้วย แผนที่ แผนภาพ แผนภูมิ ภาพประกอบ และตาราง (Maps, Charts, Diagrams, Illustrations, Tables) การเขียนเอกสารอ้างอิง (References) บรรณานุกรม (Bibliography) และภาคผนวก (Appendices) รวมทั้งวิธีการนำเสนอการอ้างอิงถ้อยคำหรือความคิดเห็น (Quotation &Citation) เป็นต้น
.........3.การวัดและประเมินผล (Assessment) การวัดและประเมินผลการเขียนความเรียง (Extended-Essay) ใช้เครื่องมือเดียวกับการประเมินผลสาระของ TOK (Theory of Knowledge) 

.........การจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้ CAS (Creativity, Actions, Service) เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการสร้างสรรค์โครงงานและปฏิบัติจริง 3 กิจกรรมหลัก ๆ ที่ประกอบไปด้วย การสร้างสรรค์โครงงาน
(Creativity) โดยใช้ความรู้จากสาระการเรียนรู้พื้นฐาน นำกิจกรรมในโครงงานสู่การปฏิบัติจริงตามโครงงานที่สร้างขึ้น (Actions) และจัดหรือเข้าร่วมกิจกรรรมบริการสังคม (Service) เช่น การเยี่ยมบ้านคนชรา โรงพยาบาล ค่ายผู้อพยพ อาสาสมัคร เป็นต้น

.........การจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้โลกศึกษา Global Education เป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โลก เรียนรู้เกี่ยวกับความคิด (Concept) และเนื้อหาของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับโลกเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์และปรัชญา เช่น สิทธิมนุษยชน, ประชาธิปไตย, เศรษฐศาสตร์, ความยุติธรรม, ความเสมอภาค, สันติภาพ, การบริหารความ
ขัดแย้ง, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, ความเหมือนและความแตกต่างในด้านชีวิตความเป็นอยู่, วัฒนธรรม, ศาสนา, การพัฒนาอย่างยั่งยืน ฯลฯ

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 มกราคม 2554 เวลา 05:16

    หลักสูตรนี้ก็ดีครับ เเต่ในเด็กที่อยู่ต่างจังหวัดนะครับ อาจจะเด่นในเรื่องงาน ภาษาไทย เเต่ที่ตกคือภาษาอังกฤษ เเล้วให้นักเรียนมาเรียนภาษาอังกฤษทุกคาบก็ตายก็พอดีครับ เเค่ภาษาไทยเฉยๆ ยังจะตายอยู่เเล้วครับ เเต่น่าจะมีหลักสูตรที่ให้เด็กๆเรียนภาษาอังกฤษได้เข้าใจสำหรับคนที่อยากพูดภาษาอังกฤษเป็นเเละตั้งใจเรียนครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. เราควรมุ่งประเด็น
    และควรรู้จริงๆว่าจุดประสงค์หลักของวิชานี้ คือ องค์ความรู้
    อย่าหลงทางว่าควรสอนอย่างไร
    เพราะวิชานี้จเป็นทางออกสำหรับนักเรียนทุกๆคน
    ควรจะรู้ว่า
    ความรู้คืออะไร

    www.kidkeng.com

    ตอบลบ