วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับบล็อก


“บล็อก กับการจัดการความรู้”

การเขียนบล็อกไม่ว่าจะด้วยเรื่องอะไรก็ตาม ทั้งหมดทั้งสินก็ล้วนแต่เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในวงกว้างอย่างเป็นประโยชน์ การเขียนบล็อกจึงเปรียบเสมือนแหล่งกระจายความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ ดังนั้นประโยชน์ของบล็อกจึงมีอยู่มากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ การเขียนบล็อกสำหรับบันทึกเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่ผู้เล่าสนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือการเขียนต้องมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง จะช่วยอำนวยให้การดึงเอาความรู้ฝังลึกถูกแสดงออกมาได้โดยไม่ยากนักและการเขียนบล็อกอยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้ (Knowledge Assets) อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความรู้ก็ทำได้โดยสะดวก รวดเร็ว อีกทั้งบล็อกยังเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ โดยหลักการของ บล็อก คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน บล็อก เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง บล็อก ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน บล็อก ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันทีและยังเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ การเขียน บล็อก ที่อนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอดลงไปใน บล็อก และผู้เขียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี บล็อกยังเป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน บล็อก เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน บล็อก ที่มักอ้างถึง บล็อก อื่น ๆ โดยการโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เขียนบรรจุไว้ใน บล็อก ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ บล็อก ชุมชน และยังเป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ วิธีการหนึ่งที่ระบบ บล็อก โดยทั่วไปนำมาใช้ในการรวบรวมและแยกประเภทของของบันทึก คือการให้ผู้เขียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เขียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน บล็อกยังเป็นเครื่องมือสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้โดยผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ และบล็อกเป็นศูนย์ความรู้ขององค์การ เพราะให้พนักงานและบุคลากร แต่ละคนเขียน บล็อก ส่วนตัวไว้ หากพนักงานและบุคลากรท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่องค์กรให้รุ่นน้องศึกษาไปโดยการถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะ Tacit Knowledge เขียนออกมาเป็น "เรื่องเล่า"
ดังนั้นบล็อกจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากในการกระจายความรู้ การเขียน การอ่าน และการแสดงความคิดเห็นในบล็อกจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

เนื้อหาโดยสรุปเกี่ยวกับ “บล็อกและการจัดการความรู้”

คำว่า Blog เป็นคำย่อจากคำว่า Warbles หรือ Web Log ซึ่งเป็นคำที่คิดขึ้นโดย โจร์น บาร์เกอร์ ในปี ค.ศ.1997 และต่อจากนั้นอีก 2 ปีต่อมา ปีเตอร เมอร์โฮลซ์ ซึ่งสร้าง Blog ของตนเอง แล้วตั้งชื่อว่า we blog ทำให้คำว่า Warbles ถูกย่อให้เหลือแค่เพียง Blog และกลายเป็นคำฮิตติดปาก ตั้งแต่นั้นมาแต่การเปลี่ยนไอเดียจากกระดานข่าวสู่ Blog นั้น ยังไม่ถือว่าเป็นการประยุกต์ไอเดียเล็ก ๆ มาสร้างธุรกิจใหม่ได้เลยหากไม่มีบริษัทเล็ก ๆ ผู้ให้บริการจัดทำเว็บไซต์ และมี Blog เป็นของตนเองที่มองเห็นไอเดียเล็ก ๆ นี้จะเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจเหล่านั้นได้อย่างมหาศาล พวกเขาจึงก่อตั้งเว็บไซต์ Blogger.com ขึ้นมาและหวังว่านี่จะเป็นเว็บไซต์ที่ทำเงินได้ ซึ่งสุดท้าย ฝันก็เป็นจริง เมื่อวันหนึ่งเว็บ Blogger.com ของพวกเขาได้รับคำเสนอซื้อจากยักษ์ใหญ่แห่งวงการเสิร์จเอ็นจิ้นอย่าง Google.com ด้วยมูลค่าที่ใคร ๆ คาดไม่ถึงเนื้อหาใน Blog นั้นประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1.หัวข้อ( title ) 2. เนื้อหา ( Post หรือ Content ) 3.วันที่เขียน( Date )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น