วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ระบบที่ทำการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถทำงานและแก้ปัญหาได้ตามต้องการ

ชนิดของระบบสารสนเทศ
1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System : TPS) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่ต้องทำเป็นประจำในองค์กร ซึ่งรายงานต่าง ๆ ที่บันทึกในแต่ละวันนั้น จะเป็นการปฏิบัติงานที่ซ้ำๆ กันทุกวัน โดยข้อมูลประจำเหล่านี้ จะทำการรวบรวมเพื่อนำไปจัดทำรายงานที่ต้องการต่อไป เช่น การบันทึกยอดขายในแต่ละวัน
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System : MIS) เป็นการรวมเอาสารสนเทศจากระบบประมวลผลรายการจากหลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกัน และยังอาจต้องใช้ข้อมูลจากภายนอกองค์กร เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการทำงาน
3. ระบบสนับสนุนการตัดสิน (Decision Support System : DSS) เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคนให้สามารถตัดสินใจได้อย่างสะดวก โดยจะช่วยผู้ตัดสินใจในการเลือกทางเลือก
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES) เป็นระบบที่ได้นำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาเก็บไว้ พร้อมกับกำหนดกฎเกณฑ์และเงื่อนไขในการสรุปผล เช่น การวิเคราะห์โรคด้วยคอมพิวเตอร์
5. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System : OIS) เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานในสำนักงานเพื่อทำให้การดำเนินงานภายในและภายนอกสำนักงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development) คือ การสร้างระบบงานใหม่หรือการปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้วให้สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน

สาเหตุที่ก่อให้เกิดความคิดในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1. ระบบสารสนเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจไม่อาจตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ระบบได้
2. ระบบสารสนเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานในอนาคตได้
3. เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันอาจล้าสมัย
4. ระบบสารสนเทศปัจจุบันมีขั้นตอนการใช้งานที่ยุ่งยากและซับซ้อน
5. ระบบสารสนเทศปัจจุบันมีการดำเนินงานที่ผิดพลาด
6. ระบบเอกสารในระบบสารสนเทศปัจจุบันไม่มีมาตรฐานหรือขาดเอกสารที่อ้างอิงระบบ

ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศ
1. คณะกรรมการดำเนินงาน (Steering Committee) มีหน้าที่ในการตัดสินใจ กำหนดรูปแบบและวัตถุประสงค์
ของระบบสารสนเทศ
2. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ (MIS Manager) มีหน้าที่ดูแลประสานงานในการวางแผนโครงการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศ
3. ผู้จัดการโครงการ(Project Manager) มีหน้ารับผิดชอบในการวางแผน การจัดการ และควบคุมให้งาน
ในโครงการดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
4. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างระบบสารสนเทศกับ
กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ต้องการพัฒนา
5. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุดคำสั่งหรือเขียนโปรแกรม
6. เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล (Information Center Personnel) มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลและจัดเก็บข้อมูล
อย่างเป็นระบบเพื่อสะดวกและรวดเร็วต่อการใช้งาน
7. ผู้ใช้ (User) เป็นบุคคลที่มีหน้าที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานเดิม และกำหนด
ความต้องการในระบบใหม่แก่ทีมงานพัฒนาระบบ
ผู้ใช้ระบบ (System User) หมายถึง บุคคลที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์กรหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศโดยตรง

หลักในการพัฒนาระบบ
1.คำนึงถึงเจ้าของระบบและผู้ใช้ระบบ
2. พยายามเข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด
3. การกำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการทำงาน
4. จัดทำมาตรฐานในระหว่างการพัฒนาระบบและการควบคุมเอกสาร
- ด้านการปฏิบัติงาน (Activity)
- ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility)
- ด้านการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Check)
- ด้านเอกสารคู่มือหรือรายละเอียดความต้องการ (Documentation Guideline or Requirement)
5. การพัฒนาระบบคือการลงทุน
6. เตรียมความพร้อมหากแผนงานหรือโครงการต้องถูกยกเลิกแล้วทบทวนใหม่
7. แบ่งแยกและแก้ไข
8. ออกแบบระบบเพื่อรองรับการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้

วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) คือ กระบวนการทางความคิด (Logical Process) ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการ
ของผู้ใช้ได้

การวิเคราะห์ความต้องการของระบบ (Need Analysis)
1. การระบุถึงปัญหาและตัดสินใจว่าจะดำเนินการหรือไม่
2. การวิเคราะห์ระบบเดิมอย่างละเอียดและคิดแนวทางในการแก้ปัญหาออกเป็นหลายๆ แนวทาง
3. เลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดและกำหนดรายละเอียดในการแก้ปัญหา

การออกแบบระบบ (System Design) ออกแบบว่าระบบจะมีกระบวนการอย่างไร จะพัฒนาระบบอย่างไร เช่น มีหน้าจอรับข้อมูลที่จำเป็นต้องมีกี่หน้าจอ และหน้าจอเหล่านั้นจะต้องออกแบบอย่างไร เมนูมีลักษณะอย่างไร รวมถึงชนิดของฐานข้อมูล
ที่ใช้

การพัฒนา (Development)
1. การพัฒนาโปรแกรมขึ้นเอง
2. การซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป
3. การว่าจ้างบริษัทพัฒนาระบบ

การนำไปใช้ (Implementation)
1. การเปลี่ยนแปลงแบบทันที (Direct conversion)
2. การเปลี่ยนแปลงแบบขนาน (Parallel conversion)
3. การเปลี่ยนแปลงแบบทีละส่วน (Phase conversion)
4. การเปลี่ยนแปลงแบบนำร่อง (Pilot conversion)

การบำรุงรักษา (Maintenance)
หลังจากระบบสารสนเทศถูกนำไปใช้ จะเริ่มจัดเตรียมการทำขั้นตอนการบำรุงรักษาระบบ ผู้เชี่ยวชาญจะต้องคอยตรวจสอบดูประสิทธิภาพของระบบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบสามารถปฏิบัติงานได้ดี



3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ

    ตอบลบ
  2. blog สวยค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  3. คลังข้อมูลจริงๆครับ

    ตอบลบ